Page 122 - รายงานการศึกษาเรื่องโทษประหารชีวิตในประเทศไทย
P. 122

กายกรรม คือ การก่อกรรมร้ายด้วยกายในที่สุด ซึ่งการประกอบอาชญากรรมเกิดขึ้นเนื่องจากจิตใจ
                     ที่มีกิเลส อาทิ ความรัก โลภ โกรธ หลง และนำาไปสู่วจีกรรม หรือ กายกรรมที่กระทำาไปตามกิเลส

                     โดยขาดการยับยั้งชั่งใจหรือความเกรงกลัวหรือละอายต่อบาป

                                     ซึ่งจากความเชื่อในทางพระพุทธศาสนา อาชญากรรมที่เกิดขึ้นไม่สามารถหยุดยั้ง
                     ได้ด้วยความตาย หรือการประหารชีวิต อาชญากรที่กระทำาผิดในสังคมสามารถหยุดยั้งพฤติกรรม
                     การกระทำาผิดได้ด้วยมโนสำานึกที่ละอายและเกรงกลัวต่อการกระทำาบาป  หากไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว

                     จะไม่มีอะไรที่จะหยุดยั้งความคิดที่ชั่วร้าย  หรือมโนกรรมที่ถูกครอบงำาไปด้วยกิเลสอันนำาไปสู่

                     การก่ออาชญากรรมได้  การประหารชีวิตจึงเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมต่อหลักศีลธรรมและหลักคำาสอน
                     ของพระพุทธศาสนา  เพราะการประหารชีวิตไม่ได้ทำาให้อาชญากรมีการพัฒนาดวงจิตให้ปราศจาก
                     กิเลสตัณหาอันเป็นเครื่องปรุงแต่งให้ประกอบอาชญากรรม  รวมทั้งหากแต่จะเป็นการสร้าง

                     ความอาฆาตพยาบาทและการจองเวรจองกรรมอย่างไม่รู้จักจบสิ้น ซึ่งความเชื่อทางพระพุทธศาสนา

                     เชื่อว่าการให้อภัยทานจะเป็นทานที่สูงส่ง  โดยเฉพาะการให้อภัยทานแก่ผู้กระทำาผิด  เพื่อไม่ให้
                     มีการผูกใจเจ็บต่อกัน  และการให้อภัยทานเพื่อให้ผู้กระทำาผิดได้มีโอกาสในการแก้ไขฟื้นฟูตนเอง
                     จะทำาให้สังคมเกิดความสงบสุขอย่างแท้จริง

                                     สำาหรับตัวอย่างที่ดีในทางพระพุทธศาสนาที่เห็นว่าการประหารชีวิตขัดต่อ

                     หลักคำาสอนของพุทธศาสนาเพราะเป็นการละเมิดศีลข้อที่  ๑  ซึ่งหากได้ให้โอกาสผู้ที่กระทำาผิด
                     ได้มีโอกาสแก้ไขตนเอง ผู้ที่เคยกระทำาผิดบางคนอาจสามารถพัฒนาจิตใจตนเองจนกระทั่งไม่กระทำาผิด
                     อีกต่อไป ดังจะเห็นได้จากการกลับใจขององคุลีมาล เป็นการยืนยันคำาสอนทางพระพุทธศาสนาที่ว่า

                     แม้แต่ฆาตกรที่กระทำาผิดมากที่สุดคนหนึ่งยังสามารถกลับใจได้  หากได้รับโอกาสและการแนะนำา

                     สั่งสอนที่เหมาะสม  ซึ่งองคุลีมาลได้เป็นฆาตกรสังหารผู้คนไปจำานวนกว่า  ๙๙๙  คน  ตามคำาสอน
                     ที่บิดเบือนของอาจารย์ที่ว่าองคุลีมาลจะสำาเร็จวิชาได้เมื่อสังหารได้ครบหนึ่งพันคน  ความพยายาม
                     ในการสังหารมารดาบังเกิดเกล้าขององคุลีมาลได้ถูกขัดขวางเมื่อพระพุทธเจ้าเดินผ่านบุคคลทั้งสอง

                     องคุลีมาลพยายามไล่ตามพระพุทธเจ้าเพื่อสังหารพระองค์  แต่ไม่ว่าองค์คุลีมาลจะวิ่งเร็วเพียงใด

                     ก็ไม่สามารถไล่ตามพระพุทธเจ้าได้ทัน จึงได้ร้องตะโกนให้พระพุทธเจ้าหยุด พระพุทธเจ้าทรงตอบเขาว่า
                     “  เราหยุดแล้ว  แต่ท่านไม่เคยหยุด”  องค์คุลีมาลเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าทรงหมายถึงการก่อกรรม
                     ด้วยการสังหารผู้คนจำานวนมากของตนเอง  และรู้สึกถึงความสลดเสียใจในการกระทำาของตน

                     พร้อมด้วยการรู้สึกตน  องคุลีมาลจึงได้บวชเป็นภิกษุโดยพระพุทธเจ้า  ได้ปฏิบัติธรรมจนกระทั่ง

                     มีดวงตาเห็นธรรม และได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในทะเลทุกข์วัฏฏะ
                     สงสารได้ในที่สุด
                                     จากความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่ห้ามการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต  ดังจะเห็นได้จาก

                     ข้อกำาหนดของศีลข้อที่ ๑ ที่ห้ามการฆ่าสัตว์ แม้ว่าสัตว์จะมีการฆ่าหรือทำาร้ายบุคคลอื่น ๆ ในสังคม

                     ก่อนก็ตามซึ่งจากศีลข้อที่  ๑  มีวัตถุประสงค์ที่สำาคัญในการทำาให้สังคมเกิดความสงบสุข
                     ไม่ต้องการให้เกิดการฆ่าล้างแค้นกันโดยไม่รู้จักจบสิ้น  อันจะทำาให้สังคมเกิดความไม่สงบสุข






                                                                       โทษประหารชีวิตในประเทศไทย 109
   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127