Page 93 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 93
92
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
บทที่ ๔
แนวทางการพัฒนา
ชุดตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน
ระดับระหว่างประเทศและระดับประเทศ
ในบทนี้จะศึกษากระบวนการการจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน เพื่อใช้ในการประเมินในระดับ
ระหว่างประเทศและระดับชาติของบางประเทศ ในระดับระหว่างประเทศผู้ศึกษาได้ศึกษากระบวนการ
จัดทำาตัวชี้วัดที่พัฒนาโดยสำานักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ส่วนในระดับชาติ
คณะผู้ศึกษาได้เลือกการจัดทำาการประเมินของสหราชอาณาจักร สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และ
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เพื่อนำาผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบไปใช้ในการพัฒนาตัวชี้วัดสำาหรับ
ประเทศไทยในบทที่ ๕ ต่อไป
บทนี้จะแบ่งเป็นสามหัวข้อ ดังนี้
๑. การพัฒนาตัวชี้วัดโดยสำานักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
๒. การพัฒนาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนของต่างประเทศ
๓. สรุปความเห็นจากการศึกษา
๔.๑ การพัฒนาตัวชี้วัดโดย
สำานักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
การใช้เครื่องมือทางข้อมูลสถิติในการดำาเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน มิใช่เป็นเรื่องใหม่ใน
กลไกการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนระดับระหว่างประเทศ ผู้จัดทำารายงานพิเศษเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ด้านต่างๆ ได้พัฒนาตัวชี้วัดเพื่อการส่งเสริม และ/หรือ เพื่อยกระดับสิทธิมนุษยชนที่ตนเองรับผิดชอบ
อีกทั้งยังเป็นแนวทางให้คณะกรรมการประจำาสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนเฉพาะเรื่อง และองค์กร
ระหว่างประเทศอื่นๆ ใช้ประกอบในการประเมินการปฏิบัติตามพันธะหน้าที่ภายใต้กฎหมายระหว่าง
ประเทศ