Page 31 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 31

30


       รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
       การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


                  ในการคุ้มครองสิทธิด้านต่างๆ  ดังนั้น  ตัวชี้วัดกระบวนการจึงสะท้อนพันธกรณีของรัฐในด้านการ
                  ปกป้องคุ้มครอง (obligation to protect) ได้ชัดเจนมากขึ้น  ๔๒

                                    เหตุผลที่อธิบายในการกำาหนดตัวชี้วัดกระบวนการ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุ
                  หรือปัจจัยและผล ซึ่งจะทำาให้ประเมินความรับผิดชอบของรัฐต่อพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนได้ง่ายขึ้น
                  เครื่องมือในการทำาให้เป้าหมายหรือความตั้งใจสัมฤทธิผลจึงพิจารณาจากมาตรการ วิธีการ ปฏิบัติการต่างๆ

                  ไม่ว่าจะดำาเนินการโดยฝ่ายตุลาการ ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายนิติบัญญัติ และหมายความรวมถึงมาตรการต่างๆ
                                          ๔๓
                  ที่ดำาเนินโดยภาคเอกชนด้วย
                                    ตัวชี้วัดกระบวนการยังเป็นเครื่องมือชี้วัดความก้าวหน้าที่ทำาให้พันธะหน้าที่
                  เป็นจริงขึ้นมา กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ตัวชี้วัดกระบวนการนั้นสะท้อนความพยายามของรัฐในการพยายาม

                  ที่จะปกป้องคุ้มครองส่งเสริมสิทธิมนุษยชน นั่นเอง

                                    ลักษณะสำาคัญประการหนึ่ง ก็คือ ตัวชี้วัดกระบวนการเป็นตัวชี้วัดที่มีการ
                  เปลี่ยนแปลงได้ง่าย  ทั้งนี้ก็เพราะว่าเป็นตัวชี้วัดที่แสดง หรือบ่งชี้แนวทาง หรือนโยบาย เพื่อทำาให้เกิด
                  ผลในทางปฏิบัติในการเคารพสิทธิมนุษยชน

                                    ตัวอย่างตัวชี้วัดกระบวนการ เช่น นโยบายของรัฐที่พยายามให้เจ้าหน้าที่ตำารวจ
                  ที่ควบคุมการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีการปฏิบัติอย่างสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ

                  เกี่ยวกับการใช้กำาลังของผู้บังคับใช้กฎหมายที่มีอำานาจถืออาวุธ  สิ่งนี้จะสะท้อนออกมาในรูปของ
                  “สัดส่วนของเจ้าหน้าที่ต�ารวจที่ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับมาตรฐานระหว่างประเทศฯ”  เป็นต้น


                           ๒.๓.๓.๓  ตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Outcome Indicators)

                                    ตัวชี้วัดผลลัพธ์เป็นข้อมูลที่ใช้อธิบายความสำาเร็จของการดำาเนินการ หรือความ
                  พยายามดำาเนินการตามโครงการ หรือมาตรการด้านต่างๆ ที่รัฐดำาเนินการ เพื่อให้สิทธิด้านต่างๆ
                  เกิดผลขึ้นจริง ทั้งในแง่ของสิทธิมนุษยชนในภาพรวม และสิทธิในแต่ละด้าน  ๔๔

                                    นอกจากนั้น ตัวชี้วัดผลยังเป็นสิ่งที่สะท้อนความเหมาะสมของตัวชี้วัดโครงสร้าง
                  และตัวชี้วัดกระบวนการอีกด้วย  นั่นคือ ถ้าความสัมฤทธิ์ผลไม่เกิดขึ้น หรือมีค่าต่ำา แสดงว่า อาจมี

                  การกำาหนดตัวชี้วัดที่ไม่เหมาะสม เช่น การกำาหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของสภาพความ
                  เป็นจริงของสังคม หรือมีความไม่สอดคล้อง หรือเกิดความไม่สัมพันธ์กันระหว่างตัวชี้วัด  ตัวชี้วัด

                  ผลลัพธ์ มักใช้วัดพันธกรณีในการทำาให้เป็นจริง (obligation to fulfil)  ๔๕

                                    ข้อควรคำ�นึงในก�รพัฒน�ตัวชี้วัดด้�นสิทธิมนุษยชน
                                    ประเด็นสำาคัญที่ต้องทำาความเข้าใจ คือ ตัวชี้วัดการดำาเนินการปฏิบัติตาม

                  พันธกรณีของรัฐ (Compliance Indicators) นั้น มิได้ต้องการใช้เพื่อประเมินตัวชี้วัดผลการดำาเนินงาน




                  ๔๒  ibid.
                  ๔๓  ibid.
                  ๔๔  ibid
                  ๔๕  ibid.
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36