Page 33 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 33

32


       รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
       การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


                                    เหตุผลสำาคัญที่ประเทศต่างๆ ใช้วิธีการแบ่งประเภทสิทธิมนุษยชนเป็น
                  สามประเภท เนื่องมาจากได้รับวิธีการมาจากการประชุมระหว่างคณะกรรมการประจำาสนธิสัญญา
                  ด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ในการพิจารณารายงานการปฏิบัติตาม

                  สนธิสัญญาโดยตรง นอกจากนั้น แนวคิดการแบ่งตัวชี้วัดดังกล่าวยังสะท้อนหน้าที่ของพันธกรณี
                  ระหว่างประเทศทั้งสามระดับ คือ หน้าที่ในการเคารพ หน้าที่ในการปกป้องคุ้มครอง และหน้าที่
                  ในการทำาให้เป็นจริง

                                    ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๒๐๑๒ (พ.ศ. ๒๕๕๕) สำานักงานข้าหลวงใหญ่

                  สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้ตีพิมพ์หนังสือ “Human Rights Indicators : A Guideline to
                  Measurement and Implementation” ขึ้น  นอกจากจะทำาให้วิธีคิด ระเบียบ วิธีการดำาเนินการ
                  และกระบวนการการพัฒนาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนมีความชัดเจนขึ้นแล้ว  ยังทำาให้การพัฒนาตัวชี้วัด

                  ของประเทศต่างๆ เป็นรูปแบบเดียวกันหรือสอดคล้องกันมากขึ้น อันจะช่วยให้การดำาเนินการพิจารณา
                  รายงานสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการประจำาสนธิสัญญา หรือคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนมีความ

                  รวดเร็วมากขึ้น และช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้คำาแนะนำาที่ตรงประเด็นและเป็นประโยชน์ต่อ
                  ประเทศที่เสนอรายงานมากขึ้น

                                    สำานักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาติ ได้กำาหนดองค์ประกอบ
                  ของตัวชี้วัด ภายใต้คำาย่อ “RIGHTS” ซึ่งประกอบด้วย  ๔๘


                     R     –  Relevant and Reliable
                             (เกี่ยวโยงและเชื่อถือได้)
                     I     –  Independent in its data-collection methods from the subjects monitors
                             (มีความเป็นอิสระของวิธีการเก็บข้อมูลจากสิ่งที่ต้องการตรวจสอบ)
                     G     –   Global and Universally meaningful but also amendable to contextualisation and
                             disaggregation by prohibited grounds of discrimination
                             (มีความเป็นสากลและสามารถปรับแก้เพื่อให้แสดงลักษณะเฉพาะที่เกี่ยวกับการห้ามเลือกปฏิบัติได้)

                     H     –  Human rights standards-centric; anchored in the normative framework of rights
                             (ยึดมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากลเป็นแกนกลาง และยึดกรอบปทัสถานแห่งสิทธิ)
                     T     –  Transparent in its methods, Timely and Time-bound
                             (มีวิธีการจัดทำาที่โปร่งใสทันสมัย และมีกรอบด้านเวลา)
                     S     –  Simple and Specific
                             (มีความง่ายและมีความจำาเพาะเจาะจง)















                  ๔๘  Office of the High Commissioner for Human Rights, Supra Note 39. p. 50.
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38