Page 36 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 36
35
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
Regroupment : III Protection (กลุ่ม : ๓ การปกป้องคุ้มครอง)
Family : 6 Juvenile justice (ครอบครัว : ๖ เด็กในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา)
Article (ข้อ) Concept (แนวคิด) Indicators (ตัวชี้วัด)
๔๐ Juvenile justice (เด็กในกระบวนการ ๑. จำานวนเด็กที่ตกเป็นผู้ต้องหา จำาแนกตามการกระทำาผิด
ยุติธรรมทางอาญา) ๒. จำานวนคดีความอาญาที่เด็กอยู่ในฐานะผู้เสียหาย
๓. จำานวนเด็กซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา จำาแนกตามอายุ
๔. จำานวนผู้ต้องหาในคดีอาญาที่เด็กเป็นผู้ถูกกระทำา จำาแนก
ตามช่วงอายุของผู้ต้องหา
๓๗ Treatment of Juvenile delinquents ๑. จำานวนเด็กที่ประพฤติตนไม่สมควรแก่วัย และเข้ารับ
(หลักการปฏิบัติต่อเด็กที่มีความประพฤติ การสงเคราะห์ ณ บ้านพักเด็กและครอบครัว กทม.
ไม่สมควรกับวัย) ๒. อัตราการเปลี่ยนแปลงจำานวนเด็กที่ถูกฟ้องศาล
๓. อัตราการเปลี่ยนแปลงจำานวนคดีที่เด็กถูกฟ้องศาล
๒.๔ บทสรุป
จากการศึกษาวิเคราะห์ในส่วนนี้นำามาสู่ข้อสรุปได้ ดังนี้
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้ก่อพันธกรณีระหว่างประเทศในฐานะที่เป็นจารีต
ประเพณี โดยถือว่า สิทธิและเสรีภาพที่ได้รับรองไว้ในปฏิญญานั้น เป็นมาตรฐานขั้นต่ำาที่มนุษย์ทุกคน
พึงมี และรัฐจะต้องดำาเนินการเคารพ ปกป้อง และทำาให้เกิดขึ้นจริง
สำาหรับประเทศไทย ในการประเมินการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศนั้น กสม.
มีหน้าที่จัดทำารายงานคู่ขนาน เพื่อประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนเพื่อเสนอต่อองค์กรระหว่าง
ประเทศที่มีหน้าที่พิจารณารายงานของรัฐบาล ในการรายงานตามกระบวนการ UPR นั้น คณะมนตรี
สิทธิมนุษยชนได้ใช้สาระแห่งสิทธิที่รับรองโดยปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เป็นฐานในการ
พิจารณาการดำาเนินงาน หน้าที่ในการเคารพสิทธิมนุษยชนตามกฎบัตรสหประชาชาติ
ตัวชี้วัดเป็นการใช้ข้อมูลสถิติทางสังคมศาสตร์ รวมทั้งเหตุการณ์หรือสถานการณ์
ด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในประเทศ เพื่อเป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
และตรวจสอบการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ว่าได้ดำาเนินการสอดคล้องกับพันธกรณี
ระหว่างประเทศตามสิทธิมนุษยชนในการเคารพ ปกป้อง และทำาให้สิทธินั้นเป็นจริงหรือไม่
โดยพิจารณาจากกฎหมาย กลไก นโยบาย และมาตรการต่างๆ ที่รัฐได้ใช้
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน จึงเป็นการสร้าง
เครื่องมือในการตรวจสอบการดำาเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐบาล ตามที่ประเทศไทยมี
พันธกรณีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศในการคุ้มครองบุคคล ตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นตามกระบวนการ
การรายงานตามพันธกรณีระหว่างประเทศมุ่งที่จะยกระดับการพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง