Page 34 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 34
33
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
๒.๓.๔ พัฒนาการของการใช้ตัวชี้วัดในงานด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
นักวิชาการในประเทศไทยได้มีการใช้ข้อมูลสถิติทางสังคมศาสตร์ เป็น “ตัวชี้วัด” หรือ
“ตัวบ่งชี้” ในงานที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนมานับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๓ ๔๙ โดยสถาบันวิจัยสังคม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเริ่มแรกใช้เพื่อให้เป็นเครื่องมือ “บ่งชี้สถานภาพสตรี” อย่างไรก็ตาม
ตัวชี้วัดที่ทำาขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานภาพสตรีโดยทั่วไป จึงไม่ได้เชื่อมโยงกับสาระสำาคัญ
ของสิทธิโดยตรง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ไม่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อประเมินการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่าง
ประเทศ จึงไม่ได้ใช้ “สาระแห่งสิทธิ” เป็นพื้นฐานในการกำาหนดตัวชี้วัด
ความพยายามเชื่อมโยงข้อมูลสถิติทางสังคมใช้ในบริบทของกฎหมายที่เป็นสิทธิมนุษยชน
ระหว่างประเทศปรากฏชัดขึ้นในโครงการจัดทำา “ตัวบ่งชี้สิทธิเด็ก” พ.ศ. ๒๕๔๑ ในการประเมินสิทธิเด็ก
๕๐
ตามปฏิญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ ค.ศ. ๑๙๘๙ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ซึ่งจัดดำาเนินการโดย อมรา พงศาพิชญ์
และคณะ เพื่อเสนอต่อองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ ในการจัดทำาตัวบ่งชี้สิทธิเด็กได้มีการใช้
ข้อบท (Provisions) ตามตราสารระหว่างประเทศเป็นรายข้อ (Article) แล้วจึงแยกเป็น “Concept”
๕๑
หลังจากนั้นก็จะมี “Indicators” ของแต่ละ “Concept” (ดูตารางที่ ๑ ประกอบ)
ตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นมีจุดแข็ง คือ ดูที่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด แต่ยังขาดมิติการชี้วัดพันธะหน้าที่ของรัฐ
ในด้าน “หน้าที่ในการเคารพ (duty to respect)” และ “หน้าที่ในการปกป้องคุ้มครอง (duty to protect)”
ต�ร�งที่ ๑ ตัวอย่าง “ตัวบ่งชี้สิทธิเด็ก” ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Regroupment : II Extension and Support Rights (กลุ่ม: ๒ การขยายและสนับสนุนสิทธิ)
Family : 2 Education (ครอบครัว: ๒ การศึกษา)
Article (ข้อ) Concept (แนวคิด) Indicators (ตัวชี้วัด)
๒๘, ๒๙ Education, including pre-school, ๑. สัดส่วนงบประมาณการศึกษาต่องบประมาณแผ่นดิน
basic, informal, non-formal, etc. ๒. สัดส่วนงบประมาณการศึกษาต่อ GDP จำาแนกตาม
(การศึกษา รวมถึง การศึกษาระดับ ปีงบประมาณ
อนุบาล การศึกษาพื้นฐาน การศึกษา ๓. สัดส่วนงบประมาณการศึกษา จำาแนกตามระดับการศึกษา
นอกระบบ และการศึกษาที่ไม่มีระบบ) ๔. จำานวนผู้เข้าใหม่ จำาแนกตามระดับการศึกษา (School
Enrollment)
๕. อัตราการคงอยู่ ซ้ำาชั้น และออกกลางคันระหว่างระดับ
ประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงปีที่ ๖ จำาแนกตามเพศและอายุ
๖. อัตราการคงอยู่ของนักเรียน จำาแนกตามระดับการศึกษา
๗. อัตราการเรียนต่อ จำาแนกตามระดับการศึกษา
๘. สัดส่วนเด็กที่อยู่ในระบบการศึกษาภาคบังคับ (อายุ ๖-๑๑ ปี)
ต่อเด็กอายุ ๖-๑๑ ปีทั้งหมด จำาแนกตามปีการศึกษา
๔๙ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รายงานตัวบ่งชี้สถานภาพสตรี ปี ๒๕๔๐, (กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๓) ; สถาบันวิจัยสังคม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รายงานเปรียบเทียบตัวบ่งชี้สถานภาพสตรีไทย ปี ๒๕๓๓ ปี ๒๕๓๗ ปี ๒๕๔๑, (กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๓).
๕๐ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ตัวบ่งชี้สิทธิเด็ก, (กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๑)
๕๑ ในรายงาน “ตัวบ่งชี้สิทธิเด็ก” ใช้ค�าว่า “Concept” ซึ่งอาจแปลได้ว่าคือ มุมมอง มิติ หรือด้านต่างๆ