Page 26 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 26
25
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
กำาลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร (a sign that shows you what something is like or how
a situation is changing)” ๒๖
Johnstone กล่าวว่า ตัวชี้วัดสามารถใช้เป็นตัวประเมินสถานการณ์ หรือเครื่องมืออย่างหนึ่ง
ที่สามารถบอกสถานการณ์ที่เป็นอยู่ หรือที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาที่เราศึกษา เพื่อให้ทราบว่า
สถานการณ์นั้นๆ อยู่ในระดับใด มีภาวะความเป็นอยู่อย่างไร โดยจะเป็นการประมาณสถานการณ์
ในเชิงปริมาณ และกำาหนดเป็นค่าสถิติ ในลักษณะที่มีความใกล้เคียงกับความเป็นจริงของ
สถานการณ์นั้นๆ ทั้งนี้ สถานการณ์ที่ได้ประมาณในเชิงปริมาณและกำาหนดเป็นค่าทางสถิติตัวนี้
สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาของสถานการณ์นั้นๆ ได้ ๒๗
ส่วน Victor Jupp กล่าวสรุปไว้สั้นๆ ว่า หมายถึง “สิ่งที่สามารถวัดได้ในเชิงปริมาณที่นำามา
แทนที่ หรือใช้แทนสิ่งที่สามารถอ่านเป็นค่าที่วัดได้น้อยกว่า (A measurable quantity which
‘stands in’ or substitutes, in some sense, for something less readily measurable.)”
โดยเขายกตัวอย่างให้เห็นว่า การที่เราบอกว่า “อากาศร้อนมาก” เราอาจไม่สามารถบอกได้ว่า “มาก”
แค่ไหน ขึ้นอยู่กับความเข้าใจเองของคนพูดและคนฟัง ดังนั้น เทอร์โมมิเตอร์ที่ทำาขึ้นเป็นขีด (scales)
ที่แปรเปลี่ยนไปตามระดับความร้อนจึงเป็น “ตัวชี้วัด” หรือ “บอก” ของระดับความร้อนของอากาศ ๒๘
พรเทพ เมืองแมน ได้สรุปลักษณะสำาคัญของตัวชี้วัดไว้ ดังนี้
๑. ตัวชี้วัดไม่จำาเป็นต้องชี้ หรือบอกสิ่งต่างๆ ได้อย่างแม่นยำา แต่เป็นเพียงตัวบอกหรือ
ตัวที่บ่งชี้สิ่งต่างๆ ในลักษณะการประมาณ อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าความเป็นจริงบ้าง
๒. ตัวชี้วัดจะประกอบด้วยตัวแปรข้อมูลหลายๆ ตัวแปรที่มีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อที่จะ
บ่งบอกหรือบ่งชี้ให้เห็นถึงลักษณะกว้างๆ ของสภาพการณ์ของระบบนั้นๆ
๓. ตัวชี้วัดที่ใช้บ่งชี้ปริมาณของสิ่งใด ควรกำาหนดในลักษณะปริมาณหรือคิดเป็นค่าตัวเลข
หรือค่าที่วัดได้ ไม่ควรกำาหนดในลักษณะการบรรยายข้อความล้วนๆ
๔. ตัวชี้วัดสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกาลเวลาหนึ่ง หรือระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็น
ช่วงเวลาใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับความไวของการผันแปรของระบบที่นำามากำาหนดเป็นตัวชี้วัด
๕. ตัวชี้วัดควรต้องพัฒนามาจากการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ ด้วยวิธีการศึกษา
เพราะจะทำาให้ตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นมีความน่าเชื่อถือ ๒๙
ตัวชี้วัดสามารถนำาไปใช้ประโยชน์ได้หลายประการ กล่าวคือ
๑) การกำาหนดนโยบาย การวางแผน และกำาหนดเป้าหมายการดำาเนินงานได้อย่างชัดเจน
ตรวจสอบได้
๒) การประเมิน หรือกำากับติดตามการเปลี่ยนแปลงในระบบการดำาเนินงานให้เป็นไปตาม
หลักเกณฑ์มาตรฐานที่กำาหนด เพื่อหาทางพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
๒๖ Oxford Advanced Learner’s Dictionary, (Oxford: Oxford University Press, 2010).
๒๗ James N Johnstone, Indicators of education systems. (London: UNESCO, 1981) pp. 10-12.
๒๘ Victor Jupp. The SAGE Dictionary of Social Research Methods, (London: SAGE Publications), 2006 pp. 144-145.
๒๙ พรเทพ เมืองแมน “การพัฒนาดัชนีบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาเทคโนโลยีการศึกษา”, (วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัญฑิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๔๖), หน้า ๓๐.