Page 27 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 27
26
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
๓) การจัดลำาดับ หรือระดับคุณภาพการดำาเนินงานของหน่วยงาน เพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิด
การพัฒนา และ
๔) การศึกษาและพัฒนาระบบการปฏิบัติงาน ซึ่งช่วยให้สารสนเทศเกี่ยวกับสภาวะ
แนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อนำาไปสู่การ
พัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขการดำาเนินงานให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพดีขึ้น ๓๐
วรรณี แกมเกตุ ได้เสนอว่า ตัวชี้วัดที่มีคุณภาพ ควรมีความทันสมัย เหมาะสมกับเวลา
และสถานที่ มีความตรง (Validity) ความเที่ยง (Reliability) ความเป็นปรนัย (Objective) ความเป็น
ประโยชน์ (Utility) และใช้ปฏิบัติได้จริง (Practical) มีเกณฑ์การวัดและแปลความหมาย มีความไว
มีความเฉพาะเจาะจง (Particularity) และมีความเชื่อถือได้ (Credibility) นอกจากนั้น วรรณี แกมเกตุ
ได้เน้นความสำาคัญของกระบวนการพัฒนาตัวชี้วัดไว้ ดังนี้ ๓๑
“การตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้โดยทั่วไป ประกอบด้วยหลักการกว้างๆ สองอย่าง คือ
การตรวจสอบคุณภาพภายใต้กรอบแนวคิดทางทฤษฎี และการตรวจสอบด้วยวิธีการทางสถิติ
อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบด้วยวิธีการทางสถิติเป็นเพียงหลักฐานหรือข้อมูลเชิงประจักษ์ที่สนับสนุน
คุณภาพของตัวบ่งชี้เท่านั้น ความสำาคัญที่แท้จริงของการตรวจสอบคุณภาพตัวบ่งชี้ จึงอยู่ที่กรอบ
แนวคิดเชิงทฤษฎีของผู้พัฒนาเป็นสำาคัญ เพราะหากการพัฒนาเริ่มต้นจากกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีที่
ขาดคุณภาพแล้ว เทคนิควิธีการทางสถิติก็ไม่อาจทำาให้ผลการพัฒนามีคุณภาพดีขึ้นมาได้ ซึ่งผู้พัฒนา
ตัวบ่งชี้สามารถดำาเนินการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้ได้ ทั้งในเรื่องของตัวแปรและ
การคัดเลือกตัวแปร การรวมตัวแปร และการกำาหนดน้ำาหนักความสำาคัญของตัวแปร แม้ว่าจะไม่มี
หลักเกณฑ์ตายตัว แต่การเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับธรรมชาติของตัวแปรและเป้าหมายในการนำาไปใช้
ประโยชน์เป็นประเด็นที่จะต้องพิจารณาตรวจสอบให้มีความเหมาะสม”
นอกจากนั้น Doran ได้พัฒนาเกณฑ์ (Criteria) ในการกำาหนดตัวชี้วัดที่ดีเพื่อใช้เกี่ยวกับ
การบริหารและพัฒนาบุคลิกภาพ ซึ่งได้รับการยอมรับทั่วไป โดยสรุปเกณฑ์เหล่านั้น ภายใต้ชื่อว่า
๓๒
SMART Indicators อันประกอบด้วย
S - Specific ความเฉพาะเจาะจง โดยตัวชี้วัดมีความชัดเจนว่า ต้องการวัดสิ่งใด เพื่อมิให้เกิด การตีความ
ผิดพลาดและเพื่อให้สามารถสื่อสารความเข้าใจให้ตรงกัน
M - Measurable การวัดผลได้ หรืออย่างน้อยควรบอกได้ว่ามีความคืบหน้า ซึ่งการวัดผลนั้น อาจเป็นการวัดผล
ในเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพ
A - Assignable การกำาหนดให้มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน
R - Realistic ความเป็นไปได้ที่จะบรรลุตามตัวชี้วัดที่กำาหนด ภายใต้ทรัพยากรที่ได้รับการจัดสรร
T-Time-Bonded มีกรอบระยะเวลาที่กำาหนด หมายถึง สามารถบรรลุเป้าหมายได้ตามกรอบ ระยะเวลาที่กำาหนดไว้
๓๐ วรรณี แกมเกตุ “Indicator Development”, [online] Available at <http://wiki.edu.chula.ac.th/groups/90e28/wiki/b2bf7/
indicator_development.html > (10 December 2011)
๓๑ เรื่องเดียวกัน
๓๒ George T. Doran, “There’s a S.M.A.R.T. way to write management’s goals and objectives” in AMA FORUM, (Volume 70,
Issue 11, 1981), pp. 35-36.