Page 28 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 28
27
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
๒.๓.๒ ความหมายของตัวชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชน
สำานักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้ให้ความหมายของตัวชี้วัด
สิทธิมนุษยชนไว้ว่า หมายถึง ข้อมูลจำาเพาะเจาะจงที่ได้กำาหนดขึ้นเพื่อแสดงสภาวะ หรือสถานะของ
เป้าหมาย เหตุการณ์ กิจกรรม หรือผลลัพธ์ ซึ่งสัมพันธ์กับปทัสถาน หรือมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชน
โดยข้อมูลนั้นได้บ่งถึง หรือได้สะท้อนหลักการของสิทธิมนุษยชนและปัญหาของสิทธิมนุษยชน และ
ข้อมูลเหล่านั้นสามารถใช้ประเมินและติดตามตรวจสอบ การนำาหลักการและปทัสถานสิทธิมนุษยชน
มาปรับใช้ในประเทศ ๓๓
ความหมายนี้พัฒนามาจากนิยามที่เสนอโดย Paul Hunt ผู้จัดทำารายงานพิเศษว่าด้วย
สิทธิในการมีมาตรฐานทางด้านสุขภาพขั้นสูงสุดเท่าที่จะมีได้ (Special Rapporteur the Right of
๓๔
everyone to the Highest Attainable Standard of Physical and Mental Health) ซึ่ง
คำานิยามนี้ได้ยอมรับในการดำาเนินงานของสำานักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ ในการประชุมระหว่าง
คณะกรรมการประจำาสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชน ซึ่งปรากฏในรายงานเรื่อง Report on Indicators
for Monitoring Compliance with International Human Rights Instruments” (HRI/Mc/2006/7)
และโดยคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council) ซึ่งปรากฏในรายงาน
การประชุม สมัยที่ ๒๐๑๑ เรื่อง “Social and Human Rights Question : Human Rights” ๓๕
ในการประชุมดังกล่าว คณะกรรมการประจำาสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนที่เข้าร่วมประชุม
ปรึกษาหารือร่วมกันมีความเห็นว่า ตัวชี้วัดทางด้านประชากรและเศรษฐกิจสังคม อาจมีนัยยะสำาคัญ
ที่ช่วยอธิบายหรือนำามาใช้ในการประเมินการปฏิบัติตามพันธกรณีของรัฐได้ ซึ่งจะช่วยในการพิจารณา
แม้ว่าตัวชี้วัดเป็นชุดของข้อมูลที่อาศัยสถิติหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่มีความแตกต่างระหว่างตัวชี้วัด
สิทธิมนุษยชนกับข้อมูลสถิติด้านเศรษฐกิจสังคมอยู่หลายประการ แต่สิ่งที่จำาเป็นคือจะต้องกำาหนด
สาระแห่งสิทธิเพื่อให้ตอบสนองต่อปทัสถานสิทธิมนุษยชน ซึ่งต่อมาได้มีการสรุปแนวทางร่วมกัน
เพื่อกำาหนดลักษณะตัวชี้วัดที่สามารถสะท้อนพันธะหน้าที่ของรัฐ โดยการกำาหนดประเภทของตัวชี้วัด
สามประเภท คือ ตัวชี้วัดโครงสร้าง ตัวชี้วัดกระบวนการ และตัวชี้วัดผล
ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนมีลักษณะเช่นเดียวกับตัวชี้วัดทางด้านสังคมศาสตร์ ดังนั้น ข้อมูล
หรือ data ที่นำามาใช้ในการประเมิน ก็สามารถใช้ได้ทั้งลักษณะที่เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิง
คุณภาพ ดังนั้น ตัวชี้วัดจึงจำาแนกตามประเภทของข้อมูลได้สองประเภท คือ
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ (Quantitative Indicators) เป็นชุดข้อมูลที่สามารถบอกเป็นตัวเลขสถิติ
จำานวน หรือร้อยละ ได้ เช่น ร้อยละของเด็กที่ออกกลางคันในระดับการศึกษาภาคบังคับ จำานวน
คำาร้องเรียนว่าบุคคลสูญหายโดยการใช้กำาลังบังคับต่อปี เป็นต้น
๓๓ Supra note 11, para. 7
๓๔ Office of the High Commissioner for Human Rights, (UN. Doc. A/52/422), Section II.
๓๕ Office of the High Commissioner for Human Rights, (UN. Doc. E/2011/a0, 26 April 2011).