Page 30 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 30

29


                                                                                                   รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
                                                                       การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


                     ๒.๓.๓  ประเภทของตัวชี้วัดพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชน
                                                                                                     ๓๘
                              ดังกล่าวข้างต้น คำาแนะนำาของสำานักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
                     ได้จำาแนกประเภทของตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนออกเป็นสามประเภท คือ ตัวชี้วัดโครงสร้าง ตัวชี้วัด
                     กระบวนการ และตัวชี้วัดผลลัพธ์  เพื่อให้สะท้อนพันธะหน้าที่ของรัฐในการเคารพ ปกป้องคุ้มครอง

                     และการทำาให้เป็นจริง ซึ่งตัวชี้วัดแต่ละประเภทมีลักษณะ ดังนี้

                              ๒.๓.๓.๑  ตัวชี้วัดโครงสร้�ง (Structural Indicators)

                                       ตัวชี้วัดโครงสร้างเป็นตัวชี้วัดที่แสดงความตั้งใจ หรือเจตจำานงของรัฐในการ

                     เคารพสิทธิมนุษยชน และต้องการยกระดับสิทธิมนุษยชนให้ดียิ่งขึ้นโดยการยอมรับมาตรฐานระหว่าง
                                     ๓๙
                     ประเทศมาปรับใช้   ดังนั้น จึงสะท้อนออกมาในรูปแบบของการให้สัตยาบันสนธิสัญญา หรือข้อ
                     ตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน รวมถึงการออกกฎหมายภายใน และมีกลไกที่จำาเป็น

                     ในการนำาไปสู่การตระหนักถึงการมีสิทธิ เพื่อให้เกิดสิทธิขึ้นในระบอบกฎหมายหรือในสังคม ตัวชี้วัด
                     โครงสร้างจึงเป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนพันธกรณีในการเคารพ (obligation to respect) ได้ชัดเจน  ๔๐

                                       ในการพิจารณาตัวชี้วัดโครงสร้างจำาเป็นต้องวิเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ
                     สิทธิแต่ละประเภทว่ากฎหมายภายในสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศหรือไม่ รวมทั้งต้อง

                     วิเคราะห์ว่ากลไก หรือสถาบันที่มีอยู่นั้นจะมุ่งไปสู่การส่งเสริม และปกป้องคุ้มครองสิทธิให้เป็นไปตาม
                     มาตรฐานระหว่างประเทศได้อย่างไร  นอกจากนั้น ตัวชี้วัดโครงสร้างยังสัมพันธ์กับกรอบนโยบาย

                     แผน และวิธีการ ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับสิทธิแต่ละประเภท  ดังนั้น จึงจำาเป็นต้องพิจารณาและวิเคราะห์
                     นโยบาย และแผน ของรัฐด้วย  ๔๑

                                       ดังนั้น จึงอาจเป็นไปได้ว่า สิทธิหลายๆ ประเภทอาจมีตัวชี้วัดเดียวกัน เช่น
                     ตัวชี้วัดสิทธิในชีวิต กับสิทธิในสุขภาพ อาจใช้การเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง
                     และสิทธิทางการเมืองเป็นตัวชี้วัดความตั้งใจของรัฐในการทำาให้บุคคลมีสิทธิในชีวิต และป้องกัน

                     อันตรายจากโรค หรืออุบัติเหตุ ที่ทำาให้ชีวิตอยู่ในภาวะที่เสี่ยงภัย เป็นต้น


                              ๒.๓.๓.๒  ตัวชี้วัดกระบวนก�ร (Process Indicators)
                                       ตัวชี้วัดกระบวนการเป็นตัวชี้วัดเกี่ยวกับเครื่องมือ หรือวิธีการที่จะทำาให้

                     การดำาเนินการด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐเป็นไปตามเป้าหมาย หรือให้เกิดผลตามนโยบาย หรือแผนที่
                     กำาหนดขึ้น  ดังนั้น ตัวชี้วัดกระบวนการจึงสัมพันธ์กับตัวชี้วัดผลลัพธ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดจากการดำาเนิน
                     นโยบายหรือแผน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นเครื่องมือที่จะนำาไปสู่ความสัมฤทธิผลของเป้าหมายที่ได้

                     วางไว้  นั่นคือ การบรรลุหน้าที่ในการทำาให้เป็นผลสัมฤทธิ์ขึ้นมา  ดังนั้น ตัวชี้วัดกระบวนการจึงเป็น
                     เครื่องมือสำาคัญในการติดตามและตรวจสอบความก้าวหน้าของการทำาให้เป็นจริง หรือกระบวนการ





                     ๓๘   Office of the High Commissioner for Human Rights (2012), Human Rights Indicators: A Guide to Measurement and Imple-

                        mentation, Geneva: United Nations, (UN Publication No. HR/PUB/12/5), p. 34.
                     ๓๙   ibid.
                     ๔๐   ibid.
                     ๔๑   ibid.
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35