Page 25 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 25

24


       รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
       การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


                           ๒.๒.๒.๓  พันธกรณีในก�รทำ�ให้บรรลุผล

                                    พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศที่มีต่อ
                  ปัจเจกชน หรือกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้ทรงสิทธิ ภาระหน้าที่นี้ เป็นหน้าที่ในเชิงบวกที่ผู้มีหน้าที่ หรือรัฐ
                  เป็นผู้มีหน้าที่ (Duty Bearer) ที่จักต้องจัดหาหรือดำาเนินการใดๆ เพื่อให้ผู้ทรงสิทธิ (Right Holder)

                  ได้บรรลุถึงสิทธิที่เขามี
                                    ดังนั้น  รัฐจึงต้องมีมาตรการต่างๆ ไม่ว่าทางด้านนโยบาย กฎหมาย หรือการปฏิบัติ

                  เพื่อให้บุคคลได้รับสิทธิอย่างเต็มเปี่ยม ตัวอย่างภาระหน้าที่ในการทำาให้บรรลุในแง่สิทธิทางด้าน
                  สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR rights) เช่น การจัดหาทนายความให้กับจำาเลย ในกรณีที่
                  เขาไม่สามารถจ้างทนายความได้  ถือได้ว่าเป็นภาระหน้าที่ในการทำาให้บรรลุถึงสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดี

                  อย่างเป็นธรรมที่รัฐได้รับรอง เป็นต้น

                                    ในแง่สิทธิทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ESCR rights) การที่รัฐมี
                  นโยบายให้การศึกษาแบบให้เปล่าแก่เด็กทุกคน หรือการจัดโครงการให้ทุนยืมเรียนในระดับอุดมศึกษา
                  ถือว่าเป็นภาระหน้าที่ในการทำาให้บรรลุถึงสิทธิในการศึกษา  ๒๕

                                    ในการพัฒนาตัวชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อประเมินการปฏิบัติตามพันธกรณี

                  ของรัฐ จึงต้องออกแบบ หรือกำาหนดให้ตัวชี้วัดสะท้อน หรือบ่งชี้ถึงพันธะหน้าที่หลักทั้งสามด้านนี้



                                ๒.๓  ความหมายของตัวชี้วัดในการติดตามตรวจสอบ

                                          การดำาเนินการด้านสิทธิมนุษยชน


                           ในส่วนนี้จะศึกษาความหมายของตัวชี้วัด (Indicators) การเชื่อมโยงความสำาคัญของ
                  ตัวชี้วัดต่อการสอดส่องการปฏิบัติตามพันธะหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และชี้ให้เห็นว่า
                  การมีตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน (Human rights indicators) ที่เหมาะสม จะช่วยให้ กสม. สามารถสอดส่อง

                  การดำาเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ให้สอดคล้องกับพันธะหน้าที่และแผนพัฒนาสิทธิมนุษยชน
                  แห่งชาติ และยังช่วยให้รัฐบาลได้มีเครื่องมือในการจัดทำารายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนต่อ
                  คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศได้ชัดเจนยิ่งขึ้น  ในบทนี้แบ่งการศึกษาเป็นสามหัวข้อ

                  ดังนี้


                  ๒.๓.๑  ความหมายของตัวชี้วัด

                           คำาว่า ตัวชี้วัด มาจากคำาว่า Indicators ซึ่งมีการถอดคำาเป็นภาษาไทยไว้หลายความหมาย
                  เช่น ดัชนี ตัวบ่งชี้ ตัวชี้นำา
                           ตามความหมายในพจนานุกรม Oxford Advanced Learner’s Dictionary ได้ให้

                  ความหมายไว้ว่า “เครื่องหมายที่แสดงให้รู้ว่าสิ่งหนึ่งกำาลังมีการเปลี่ยนแปลง หรือสถานการณ์หนึ่ง





                  ๒๕   เรื่องเดียวกัน หน้า ๘๙
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30