Page 23 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 23
22
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
นอกจากนั้น ในการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนตามกระบวนการ UPR คณะมนตรี
สิทธิมนุษยชนได้ใช้ “สิทธิที่ได้รับรองในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน” เป็นฐานในการพิจารณา
พันธะหน้าที่ของรัฐ
ดังนั้น จึงสรุปว่า กสม. มีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญในการ “ตรวจสอบและรายงานการกระท�าหรือ
การละเลยการกระท�า อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศ”
ที่ก่อโดยปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
๒.๒.๑ การสร้างปทัสถานทางกฎหมายของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
โดยกติการะหว่างประเทศ
หลังจากที่สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้รับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแล้ว
สหประชาชาติได้ขอให้คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Commission on Human Rights)
ให้ความสำาคัญในการผลักดันเพื่อยกร่างสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย
รวมทั้งขยายความและพัฒนารายละเอียดของเนื้อหาในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ที่รับรองเป็นหลักการกว้างๆ ดังได้กล่าวข้างต้นแล้วว่า ความตึงเครียดในช่วงการจัดทำาปฏิญญาสากล
ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเนื่องจากความแตกต่างทางอุดมการณ์ทางการเมือง นำามาสู่การเข้าใจเรื่อง
สิทธิมนุษยชนที่แตกต่างกัน ข้อโต้แย้งสำาคัญในขณะนั้น คือ ธรรมชาติของสิทธิทั้งสองกลุ่มมีความ
แตกต่างกัน โดยเฉพาะวิธีการปฏิบัติตาม (The mean of implementation) ขณะที่สิทธิทางพลเมือง
และสิทธิทางการเมืองสามารถให้การประกันสิทธิได้ในทันที แต่สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ต้องใช้เงินและทรัพยากรอื่นๆ จึงจะสามารถปฏิบัติให้สิทธิเป็นจริงขึ้นมาได้ และต้องดำาเนินการ
อย่างค่อยเป็นค่อยไปไม่ใช่ในทันทีทันใด แม้ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ The General Assembly)
จะพยายามยืนกรานการไม่แบ่งแยกสิทธิมนุษยชน แต่ก็ไม่ประสบความสำาเร็จ ที่ประชุมสมัชชาใหญ่
แห่งสหประชาชาติในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๕๒ (พ.ศ. ๒๔๙๕) ได้มีมติให้ร่างกฎหมายโดยแบ่งแยก
สิทธิออกเป็นสองส่วน ซึ่งในเวลาต่อมาได้กลายเป็นกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ
สิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights : ICCPR) และกติกา
ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on
Economic, Social and Cultural Rights : ICESCR) ๒๒
๒.๒.๒ พันธะหน้าที่ของรัฐในด้านสิทธิมนุษยชน
กฎหมายระหว่างประเทศก่อพันธะหน้าที่ต่อรัฐ ประเด็นที่ควรจะต้องพิจารณาในเบื้องต้น
คือ พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนมีอย่างไร กล่าวอีกนัยหนึ่ง รัฐมีภาระหรือหน้าที่อย่างไร เพื่อการ
ปฏิบัติให้เป็นไปตามพันธกรณีที่ก่อขึ้นโดยกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น ในส่วนนี้ ผู้ศึกษาจะศึกษา
๒๒ ศรีรักษ์ ผลิพัฒน์ “สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม” ใน สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เอกสารการสอน
ชุดวิชากฎหมายสิทธิมนุษยชน” พิมพ์ครั้งที่ ๓ (นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช), หน้า ๓๑๒-๓๑๓