Page 15 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 15
14
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
นับตั้งแต่ใน ค.ศ. ๑๙๙๓ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ศูนย์สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้จัดประชุม
กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมในงานด้านสิทธิมนุษยชนและกรรมการประจำา
๑๒
สนธิสัญญาขึ้นเป็นระยะๆ โดยได้มีการพัฒนาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเพื่อการประเมินการปฏิบัติ
ตามพันธกรณีภายใต้ตราสารระหว่างประเทศขึ้น แม้ว่าโครงการดังกล่าวยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์แต่มี
ความก้าวหน้าเป็นระยะ ทำาให้แนวคิด วิธีการ กระบวนการจัดทำา และตัวแบบตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน
มีความชัดเจนขึ้น โครงการดังกล่าวสามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเพื่อ
ติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนสำาหรับประเทศต่างๆ ได้
เป็นที่น่าสังเกตว่า องค์การระหว่างประเทศหลายองค์การได้ใช้ข้อมูลเชิงสถิติ (statistics data)
สำาหรับการดำาเนินงานด้านส่งเสริมสิทธิมนุษยชนมาเป็นเวลาหลายทศวรรษแล้ว เช่น กองทุนสงเคราะห์เด็ก
แห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ได้จัดทำารายงานสภาวะเด็กทั่วโลก (Status ofthe World’s Children)
เป็นประจำาทุกปี กองทุนสหประชาชาติเพื่อการพัฒนาสตรี (UN Development Fund for Women)
ได้จัดทำารายงานข้อมูลสถิติประจำาปีเกี่ยวกับผู้หญิงทั่วโลก (The World’s Women) เป็นประจำาทุกปี
อย่างไรก็ตาม รายงานเหล่านี้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติที่แสดงสถานภาพหรือภาวการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่ไม่ได้ใช้เพื่อกำาหนดเป้าหมาย (benchmark) ในการประเมินความสำาเร็จ นอกจากนั้น ข้อมูลเหล่านั้น
๑๓
ยังไม่ได้เชื่อมโยงกับ “สิทธิ” ทั้งนี้เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการจัดทำารายงานสถานภาพสตรีแตกต่าง
จากการจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน ดังนั้น วิธีการกำาหนดตัวชี้วัดลักษณะนี้จึงแตกต่างจาก “ตัวชี้วัด
ด้านสิทธิมนุษยชน” ที่ใช้ประเมินการปฏิบัติตามพันธะหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชน
ดังกล่าวข้างต้นแล้วว่า กสม.มีภาระหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญต้องเสนอรายงานการประเมิน
สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยต่อรัฐสภาและเผยแพร่รายงานให้กับประชาชนได้รับและเสนอ
รายงานคู่ขนานต่อองค์การสหประชาชาติ ในขณะที่รัฐบาลมีพันธกรณีในการเสนอรายงาน
การปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนต่อสหประชาชาติ ในการจัดทำารายงานดังกล่าวจำาเป็นต้องใช้ข้อมูลที่
สามารถแสดงหรือชี้ได้ว่า รัฐบาลได้ปฏิบัติภาระหน้าที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชนได้อย่างเต็มความสามารถ
หรือไม่ ดังนั้น จึงมีความจำาเป็นที่จะต้องพัฒนาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนขึ้น เพื่อใช้ในการประเมินการปฏิบัติ
ตามพันธะหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐ
ด้วยเหตุนี้ ใน พ.ศ. ๒๕๕๔ กสม.จึงได้มีโครงการจัดทำาตัวชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชนขึ้นมาเพื่อที่
จะให้เป็นเครื่องมือในการประเมินและติดตามการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้าน
สิทธิมนุษยชน ทั้งยังเป็นพื้นฐานทางกฎหมายที่ กสม. จะได้มีคำาแนะนำาอันเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาล
ในการดำาเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน นอกจากนั้น ตัวชี้วัดฯ ยังใช้เป็นแนวทางของหน่วยงานที่เป็น
ผู้ปฏิบัติได้ใช้เป็นกรอบสำาหรับการดำาเนินการเพื่อให้มีพัฒนาการในการดำาเนินการด้านสิทธิมนุษยชน
ทั้งในการเคารพ ปกป้องคุ้มครอง และการทำาให้สิทธินั้นเป็นจริงขึ้นมา
๑๒ Office of the High Commissioner for Human Rights, “Report on indicators for monitoring compliance with international
human rights instruments”, (UN Doc. HRI/MC/2008/3, 6 June 2008).
๑๓ Rajeev Malhotra and Nicolas Fasel, “Quantitative Human Rights Indicators- A survey of major initiative”, The Paper
presented at “The Turku Expert Meeting on Human Rights Indicator”, (Turku, Finland, 10-13 March 2005), para. 60.