Page 12 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 12

11


                                                                                                   รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
                                                                       การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


                     คณะกรรมการประจำาสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนได้ตั้งข้อสังเกตและให้คำาแนะนำาหลายประการที่เป็น
                     ประโยชน์ต่อรัฐบาลไทยในการดำาเนินการเพื่อทำาให้เกิดการส่งเสริม เคารพ ปกป้องคุ้มครอง
                     สิทธิมนุษยชนให้ดีขึ้น

                              ปัจจุบันประเทศไทยเป็นภาคีสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนหลักจำานวนเจ็ดฉบับ จากจำานวน

                     ทั้งหมดเก้าฉบับ คือ

                              ๑)  อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on
                                   the Elimination of All Forms of Discrimination against Women : CEDAW)

                                   ประเทศไทยเป็นภาคี เมื่อวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๘
                              ๒)  อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child หรือ CRC)

                                   ประเทศไทยเป็นภาคีเมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ (ต่อมาประเทศไทยได้เข้าเป็น
                                   ภาคีพิธีสารเลือกรับตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กอีกสองฉบับ คือ พิธีสารเลือกรับ
                                   เรื่องการค้าเด็ก การค้าประเวณีเด็ก และสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก พิธีสารเลือกรับ

                                   เรื่องความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยอาวุธ)
                              ๓)  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International

                                   Covenant on Civil and Political Rights : ICCPR) ประเทศไทยเป็นภาคี เมื่อวันที่
                                   ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๙
                              ๔)  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International

                                   Covenant on Economic, Social and Cultural Rights: ICESCR) ประเทศไทย
                                   เป็นภาคี เมื่อวันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๒

                              ๕)  อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (International
                                   Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination : CERD)
                                   ประเทศไทยเป็นภาคี เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๖

                              ๖)  อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม
                                   หรือยำ่ายีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or

                                   Degrading Treatment or Punishment : CAT) ประเทศไทยเป็นภาคี เมื่อวันที่ ๒
                                   ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
                              ๗)  อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with

                                   Disabilities : CRPD) ประเทศไทยเป็นภาคี เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑


                              ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนอีกสองฉบับ คือ อนุสัญญา
                     ว่าด้วยการป้องกันบุคคลจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for

                     the Protection of All Persons from Enforced Disappearance : CED) (รัฐบาลไทยได้ลงนาม
                     อนุสัญญา CED แล้ว เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕) และอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิ

                     ของแรงงานย้ายถิ่นและสมาชิกในครอบครัว (International Convention on the Protection of
                     the Rights of All Migrant Workers and Members of Their Families : CRMW)
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17