Page 19 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 19

18


       รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
       การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน






                                                        บทที่ ๒
                              พันธกรณีของรัฐในการดำาเนินการ


                     ด้านสิทธิมนุษยชนและความหมายของตัวชี้วัด


                                       ในการติดตามตรวจสอบ

                                การดำาเนินการด้านสิทธิมนุษยชน














                         โดยที่โครงการนี้ต้องการพัฒนาตัวชี้วัดฯ ตาม “ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน”  ดังนั้น
                  สิ่งที่ต้องทำาความชัดเจนในบทแรกมีดังนี้ คือ ความหมายและขอบเขตของสิทธิมนุษยชนมีอย่างไร
                  ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนสร้างพันธกรณีระหว่างประเทศหรือไม่และพันธกรณีเหล่านั้น

                  มีอย่างไร  และในลำาดับต่อมาจะชี้ให้เห็นว่า ตัวชี้วัดมีความสำาคัญในการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่าง
                  ประเทศอย่างไร  ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนที่ดีนั้นควรมีลักษณะอย่างไร และลำาดับท้ายสุด คือ สังคมไทย
                  ได้มีการพัฒนาตัวชี้วัดที่ใช้สำาหรับงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างไร

                         ดังนั้น ในบทนี้จึงได้แบ่งหัวข้ออธิบายเป็นสี่หัวข้อ ดังนี้
                         หนึ่ง  ความหมายและขอบเขตของสิทธิมนุษยชน
                         สอง  พันธกรณีของรัฐในการดำาเนินการด้านสิทธิมนุษยชน

                         สาม  ความหมายของตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน
                         สี่   พัฒนาการของการใช้ตัวชี้วัดในงานด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย




                                  ๒.๑  ความหมายและขอบเขตของสิทธิมนุษยชน

                         คำาว่า “สิทธิมนุษยชน” เป็นคำาที่เกิดขึ้นใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง  แต่อย่างไรก็ตาม

                  แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนมีมานานแล้วนับตั้งแต่สมัยกรีก  สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิที่มิได้อยู่นิ่งเฉย
                  แต่เป็นผลจากวิวัฒนาการของกระบวนการเรียกร้อง (struggle) ของกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่อ้าง

                  ความชอบธรรมของประโยชน์นั้นๆ ว่าเป็นสิ่งจำาเป็นต่อความเป็นมนุษย์ (human dignity) โดยมีฐาน
                  ทางกฎหมายในการเรียกร้อง  ๑๕



                  ๑๕  วิชัย ศรีรัตน์, “แนวคิดและพัฒนาการของกฎหมายสิทธิมนุษยชน”, ใน สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เอกสาร
                     การสอนชุดวิชากฎหมายสิทธิมนุษยชน พิมพ์ครั้งที่ 3 (นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช), หน้า ๑๐.
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24