Page 20 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 20
19
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
โดยที่กฎบัตรสหประชาชาติอันเป็นธรรมนูญก่อตั้งสหประชาชาติได้กำาหนดพันธะหน้าที่หลัก
ที่สำาคัญประการหนึ่งขององค์กรแห่งนี้ไว้ในข้อ ๑ ว่า บรรดารัฐสมาชิกของสหประชาชาติเชื่อมั่นใน
“สิทธิมนุษยชน” และหน้าที่ของบรรดารัฐสมาชิกจะ “ส่งเสริมและสนับสนุนการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน
และเสรีภาพขั้นมูลฐาน โดยปราศจากความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา” แต่ขณะนั้น
ความหมายของสิทธิมนุษยชนยังคลุมเครือว่า คืออะไร มีขอบเขตอย่างไร เช่น สิทธิมนุษยชนของ
อังกฤษ หมายถึง “หลักนิติธรรม” ในฝรั่งเศส หมายถึง สิทธิทางการเมืองและสังคมตามปฏิญญาว่าด้วย
สิทธิพลเมืองและสิทธิมนุษย์ ในขณะที่ในรัสเซีย หมายถึง สิทธิของชนชั้นกรรมาชน ส่วนในสหรัฐอเมริกา
อาจหมายถึง “อิสรภาพสี่ประการ” ที่เสนอโดยประธานาธิบดีรูสเวลท์ (อิสรภาพทางความคิด อิสรภาพ
ในศาสนา อิสรภาพจากความกลัว และอิสรภาพจากความขาดแคลน) นอกจากนั้น ประเทศต่างๆ
ในภูมิภาคอื่นหาเข้าใจความหมายของคำาว่า สิทธิมนุษยชนตรงกันไม่ ๑๖
ปัญหาในขณะนั้นจึงเกิดขึ้นว่า รัฐมีพันธะหน้าที่ในการคุ้มครอง หรือจะร่วมมือกันส่งเสริม
“สิทธิมนุษยชนแบบไหน” ด้วยเหตุนี้ ภารกิจอันเร่งด่วนประการแรกของสหประชาชาติ ก็คือ ต้องทำา
ความชัดเจนให้กับความหมายของสิทธิมนุษยชน และต้องการให้มีสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนที่มี
พันธกรณีและมีความชัดเจนเพื่อให้รัฐภาคีสามารถนำาไปปฏิบัติได้
คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (Economic and Social Council) จึงได้
เสนอให้จัดทำาประมวลหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนขึ้น ต่อมาคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมได้จัดตั้ง
คณะกรรมการร่างขึ้นในคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน (Commission on Human Rights) โดย
ในการประชุมได้มีมติให้เตรียมยกร่างเอกสาร สองส่วน ได้แก่ หนึ่ง ร่างเบื้องต้นของปฏิญญาที่ระบุ
หลักการทั่วไปของสิทธิมนุษยชน (Preliminary draft of a declaration) และ สอง ร่างอนุสัญญา
ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Draft convention on human rights) อย่างไรก็ตาม สงครามเย็นที่ก่อตัวขึ้น
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างฝ่ายเสรีประชาธิปไตยที่นำาโดย
สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรกับฝ่ายสังคมนิยมที่นำาโดยรัสเซียและจีนทำาให้การเจรจาตกลง
เกี่ยวกับเนื้อหาของสิทธิมนุษยชนเกิดความล่าช้า ทั้งนี้ เพราะทั้งสองฝ่ายต้องการให้กำาหนดสิทธิ
ที่สอดคล้องกับอุดมการณ์ทางการเมืองของตนในตราสาร ในขณะเดียวกันก็ปฏิเสธสิทธิที่เป็นอุดมการณ์
ทางการเมืองของอีกฝ่ายจึงทำาให้การจัดทำาตราสารที่เป็นอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนไม่มีความคืบหน้า
ความชะงักงันของการจัดทำาตราสารก่อให้เกิดความกังวลในคณะกรรมาธิการฯ ดังนั้น
คณะกรรมาธิการฯ จึงได้เสนอทางออกว่าการจัดทำาประมวลหลักการทางกฎหมายในรูปของปฏิญญาจะ
ต้องดำาเนินไปก่อน เนื่องจากปฏิญญาไม่ก่อพันธกรณีทางกฎหมายแก่รัฐภาคีสหประชาชาติ ดังนั้น
รัฐภาคีสหประชาชาติน่าที่จะให้การสนับสนุนมากกว่าการจัดทำาตราสารที่ก่อพันธกรณี ทั้งนี้
คณะกรรมาธิการฯ ได้ให้คำาแนะนำาแก่คณะกรรมการร่างปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนว่า
“ตราสารสิทธิมนุษยชน ควรจะต้องเป็นที่ยอมรับได้โดยบรรดาประเทศภาคีของ
สหประชาชาติทุกประเทศ ดังนั้น จึงต้องสั้น กระชับ ง่ายต่อการเข้าใจ และต่อการกล่าวอ้าง” ๑๗
๑๖ วิชัย ศรีรัตน์, อ้างแล้ว.
๑๗ J. Moller, “The Universal Declaration of Human Rights: How the Process Started”, in A. Eide et al. eds., The Universal
Declaration of Human Rights: A Commentary, (Oslo: Scandinavian University Press, 1993) p. 18.