Page 17 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 17
16
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
• เนื่องจากสำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (สำานักงาน กสม.) มีโครงการ
พัฒนาตัวชี้วัดตามสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนเฉพาะเรื่องที่ประเทศไทยเป็นภาคีอีก
เจ็ดฉบับ (และพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญา) ซึ่งตัวชี้วัดตามสนธิสัญญาเหล่านั้นจะ
เกี่ยวข้องโดยตรงกับข้อมูลที่ชี้ถึงเฉพาะตัวบุคคล (disaggregate data) เช่น เพศ
เชื้อชาติ ภาษา ความเป็นเด็ก (อายุ) ความพิการ สถานะทางเศรษฐกิจ (รายได้) ดังนั้น
ในการกำาหนดเกณฑ์ชี้วัดตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในโครงการนี้
จึงไม่เน้นเรื่องข้อมูลที่เป็น disaggregate data อย่างไรก็ตาม อาจมีเกณฑ์ตัวชี้วัด
บางตัวที่ยังจำาเป็นต้องมีอยู่
๑.๔ นิยามศัพท์
ตามความมุ่งหมายของโครงการนี้ คำาว่า “ตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้น” หมายถึง ตัวชี้วัด
การดำาเนินงานของรัฐบาล เพื่อให้บรรลุถึงการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน
ด้านต่างๆ อันเป็นมาตรฐานขั้นตำ่าระหว่างประเทศตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
๑.๕ วิธีการศึกษา
การศึกษาโครงการนี้ใช้วิธีการศึกษาโดยศึกษาจากเอกสารประกอบกับการจัดประชุมสัมมนา
เชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง (Focus Groups) รวมถึง
การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) บุคคลที่เกี่ยวข้อง และการรับฟังความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ
(Peer Review) ด้านการจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน
การศึกษาเอกสารจะศึกษาจากตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน และเอกสารที่
เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตัวชี้วัด โดยเฉพาะเอกสารที่จัดทำาโดยสำานักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน
แห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ และคณะกรรมการประจำา
สนธิสัญญาระหว่างประเทศ รวมทั้ง รายงานการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
ที่ประเทศไทยเสนอต่อองค์การระหว่างประเทศ ตลอดจนกฎหมาย นโยบาย และการปฏิบัติที่
เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย
นอกจากนั้น เพื่อเป็นแนวทางในการปรับใช้ตัวชี้วัดให้มีลักษณะเป็นเครื่องมือที่ใช้ระดับ
ประเทศ ในการศึกษาเพื่อพัฒนาชุดตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ครั้งนี้ คณะผู้ศึกษาจะใช้การจัดทำาชุดตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนของสหราชอาณาจักร สาธารณรัฐ
แอฟริกาใต้ และสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ มาศึกษาเปรียบเทียบประกอบในการจัดทำาการประชุมสัมมนา
เชิงปฏิบัติการจะเป็นการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องกับตัวชี้วัด เช่น ผู้ที่จะใช้ตัวชี้วัด ผู้ที่เป็น
เจ้าของข้อมูล และผู้ที่ทำาหน้าที่ประเมิน ตรวจสอบการละเมิด ทั้งภาครัฐ และภาคประชาสังคม
ตลอดจนนักวิชาการด้านสถิติและด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อนำาความคิดเห็นจากการประชุมมาเป็น
แนวทางในการกำาหนดวิธีการจัดทำา และใช้ประโยชน์ในการพัฒนาและกำาหนดตัวชี้วัด