Page 11 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 11
10
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
๑.๑.๑ อำานาจหน้าที่ กสม. ในการประเมินและตรวจสอบสถานการณ์สิทธิมนุษยชน
การติดตามตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นภารกิจที่สำาคัญประการหนึ่งที่ทำาให้
หน่วยงานต่างๆ ของรัฐได้ทราบว่า ในการดำาเนินการตามภาระหน้าที่ของตนยังไม่สอดคล้องกับ
หลักการสิทธิมนุษยชนอย่างไร และจะต้องปรับปรุงหรือแก้ไขเพื่อให้เกิดการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ดียิ่งขึ้นไปได้อย่างไร ดังจะเห็นได้ว่า แนวปฏิบัติของประเทศต่างๆ ได้กำาหนดให้สถาบันสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติมีหน้าที่ในการจัดทำารายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนเผยแพร่ให้กับประชาชน ความสำาคัญ
ของภาระหน้าที่นี้ได้รับการเน้นยำ้าโดยหลักการว่าด้วยสถานภาพของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
๔
(Principles relating to the Status of National Institutions) หรือหลักการปารีส (The Paris
Principles) ข้อ ๓
ด้วยเหตุดังกล่าว รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๗ (๘)
ได้กำาหนดให้ กสม. มีหน้าที่จัดทำารายงานประจำาปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายใน
ประเทศและเสนอต่อรัฐสภา ซึ่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
มาตรา ๑๕ ก็ได้บัญญัติไว้ทำานองเดียวกันว่าให้ กสม. มีอำานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
“(๑) ส่งเสริมการเคารพและการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับประเทศ
และระหว่างประเทศ…
…(๖) จัดท�ารายงานประจ�าปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายใน
ประเทศเสนอต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี และเปิดเผยต่อสาธารณชน”
๑.๑.๒ อำานาจหน้าที่ กสม. ในการเสนอรายงานสิทธิมนุษยชนต่อองค์การระหว่างประเทศ
ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ประเทศไทยมีพันธกรณีระหว่างประเทศในการจัดทำา
รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนสองลักษณะด้วยกัน คือ การรายงานภายใต้กรอบของพันธกรณี
ตามสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนแต่ละฉบับ (Treaty Based Mechanism) และภายในกรอบของกฎบัตร
สหประชาชาติ (Charter Based Mechanism)
การรายงานภายใต้กรอบของพันธกรณีตามสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชน การจัดทำารายงาน
เสนอต่อคณะกรรมการประจำาสนธิสัญญาเป็นพันธะหน้าที่ขั้นต้นของรัฐภาคีที่กำาหนดโดยสนธิสัญญา
สิทธิมนุษยชนหลัก เพื่อแสดงให้เห็นว่ารัฐภาคีได้มีการปฏิบัติตามพันธกรณีตามสนธิสัญญาหรือไม่
โดยสนธิสัญญากำาหนดให้คณะกรรมการประจำาสนธิสัญญาเป็นผู้พิจารณาและให้คำาแนะนำาแก่รัฐว่า
รัฐยังบกพร่องในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนด้านใด และมีสิ่งใดบ้างที่รัฐควรจักต้องปรับปรุง
๕
แก้ไข หรือมาตรการใดควรจักต้องริเริ่มขึ้น เพื่อให้สิทธิมนุษยชนนั้นเป็นจริงขึ้นมา ที่ผ่านมา
๔ Office of the High Commissioner for Human Rights, “Principles relating to the Status of National Institutions” Adopted by
General Assembly resolution 48/134 of 20 December 1993, [online] Available at http://www2.ohchr.org/english/law/
parisprinciples.htm, (23 May. 2011)
๕ เช่น กติการะหว่างประเทศ ข้อ ๔๐ ก�าหนดว่า “รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับที่จะเสนอรายงานว่าด้วยมาตรการต่างๆ ซึ่งรัฐนั้นๆ ได้รับไว้ในอันที่จะ
ท�าให้สิทธิที่ได้รับรองไว้ในกติกานี้เป็นผลจริง และว่าด้วยความก้าวหน้าในการอุปโภคสิทธิเหล่านั้น… (๔) ให้คณะกรรมการฯ ศึกษารายงาน
ที่รัฐภาคีแห่งกติกานี้ได้เสนอคณะกรรมการฯ จะจัดส่งรายงานของตนและความเห็นทั่วไปตามที่เห็นสมควรไปยังรัฐภาคีนั้นๆ…”