Page 14 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 14

13


                                                                                                   รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
                                                                       การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


                     สิทธิมนุษยชนหลายประเภท โดยเฉพาะสิทธิด้านเศรษฐกิจและสังคมยังมีลักษณะเป็นสัมพัทธภาพ
                                ๙
                     (Relativity)  ซึ่งการปรับใช้เกณฑ์มาตรฐานระหว่างประเทศจะขึ้นอยู่กับสภาพทางเศรษฐกิจ
                     สังคม และวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ เช่น คำาว่า “สิทธิในความมั่นคงของบุคคล

                     (the right to personal security)” (ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๓) หรือ “สิทธิที่จะมี
                     มาตรฐานการครองชีพและความอยู่ดีของตนเองและครอบครัว (the right to standard of living and
                     well-being)”

                              อนึ่ง “สิทธิมนุษยชน” เป็นคำาที่มีความหมายที่กว้างและยังไม่มีคำานิยามที่ชัดเจนเด็ดขาด  ๑๐

                     ดังเช่นในความหมายของกฎหมายภายในของประเทศไทย พระราชบัญญัติคณะกรรมการ
                     สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓ ได้นิยามความหมายของคำาว่า “สิทธิมนุษยชน”
                     เพื่อประโยชน์ในการดำาเนินงานของคณะกรรมการฯ ไว้ว่า


                                “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับ
                         การคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทย หรือตาม
                         สนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม”


                              คำานิยามนี้มีความคลุมเครือทั้งในด้านเนื้อหาของสิทธิ  เช่น  “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
                     สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค คืออะไร มีเนื้อหา และสาระอย่างไร” และในด้านพันธะหน้าที่

                     ของรัฐว่า “สนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม” นั้นมีความหมายเพียงใด
                     จะมีความหมายเฉพาะ  “สนธิสัญญา”  หรือ  “พันธกรณีอื่นภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ”

                     เช่น สิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ด้วยหรือไม่

                              ลักษณะดังกล่าวส่งผลต่อการจัดทำารายงานของรัฐต่างๆ มาก  ในการจัดทำารายงาน
                     การปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในระยะเริ่มแรกรัฐภาคีมักรายงานข้อมูล

                     ที่ไม่เป็นประโยชน์ หรือให้ข้อมูลที่ไม่มีความเชื่อมโยงกับพันธะหน้าที่ของรัฐ หรือเสนอตัวชี้วัดเชิงสถิติ
                                                                                  ๑๑
                     ที่ไม่สามารถนำาไปสู่การสรุปการปฏิบัติตามพันธะหน้าที่สิทธิมนุษยชนได้   ปัญหาดังกล่าวนำามาสู่
                     การให้ความสนใจในการใช้ข้อมูลทางสถิติและตัวชี้วัดเพื่อประโยชน์ในการประเมิน และติดตาม

                     ตรวจสอบการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยคณะกรรมการประจำาสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนได้เสนอให้
                     ศูนย์สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Centre for Human Rights) ได้ช่วยเหลือ

                     อำานวยการในการพัฒนาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนขึ้น






                     ๙   เช่น กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ข้อ ๒ ได้ก�าหนดพันธะหน้าที่ของรัฐว่ารัฐจักต้อง “ด�าเนินการ
                        โดยเอกเทศและโดยความร่วมมือและความช่วยเหลือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางเศรษฐกิจและวิชาการ โดยใช้ประโยชน์สูงสุดจาก
                        ทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลในการท�าให้สิทธิซึ่งรับรองไว้ในกติกานี้กลายเป็นความจริงอย่างบริบูรณ์โดยล�าดับด้วยวิธีทั้งปวงที่เหมาะสม
                        โดยเฉพาะอย่างยิ่งรวมทั้งการก�าหนดมาตรการทางกฎหมายด้วย”
                     ๑๐   Burn Weston, “Definition of Human Rights”, in New Encyclopedia Britanica, Vol. 20 (15th Edition), (London: Britanica Inc,
                        1992),  pp. 658.
                     ๑๑   Office of the High Commissioner for Human Rights, “Report on indicators for monitoring compliance with international

                        human rights instruments”, (UN Doc. HRI/MC/2006/7, 11 May 2006).
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19