Page 10 - รายงานโครงการศึกษา เรื่อง การจัดทำตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
P. 10
9
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง
การจัดทำาตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
บทที่ ๑
บทนำา
๑.๑ ความเป็นมาและความสำาคัญของโครงการ
ในสังคมประชาธิปไตย การส่งเสริม และปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นเป้าหมายสำาคัญ
ประการหนึ่งของรัฐ สำาหรับประเทศไทยสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลได้รับการรับรองไว้ใน
รัฐธรรมนูญทุกฉบับนับตั้งแต่ประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญฉบับแรก ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ อย่างไรก็ตาม
สิทธิมนุษยชนตามที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญเหล่านั้นยังมีข้อจำากัดหลายประการทั้งในด้านเนื้อหา
ของสิทธิ การใช้สิทธิ และองค์กรคุ้มครองสิทธิ เพื่อให้สิทธินั้นๆ เป็นจริง
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำาคัญเมื่อมีการจัดทำา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้เปลี่ยนกระบวนทัศน์
เรื่องสิทธิเสรีภาพภายใต้รัฐธรรมนูญโดยถือว่าเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นพร้อมกับความเป็นมนุษย์ หรือเป็น
๑
ส่วนหนึ่งของมนุษย์ ทุกองค์กรของรัฐจักต้องคำานึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในการดำาเนินงาน
๒
และกำาหนดให้เป็นสิทธิที่สามารถกล่าวอ้างในศาลได้ นอกจากมีบทบัญญัติรับรองสิทธิและเสรีภาพ
อย่างกว้างขวางแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังกำาหนดให้จัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
(กสม.) ขึ้นเพื่อให้เป็นองค์กรที่มีหน้าที่ในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย พร้อมทั้งมีหน้าที่
ในการปกป้องคุ้มครองไม่ให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการติดตามตรวจสอบการละเมิด
๓
สิทธิมนุษยชนขึ้น เมื่อมีเหตุการณ์รัฐประหาร ใน พ.ศ. ๒๕๔๙ และนำาไปสู่การจัดทำารัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ขึ้น หลักการเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ซึ่งอยู่ภายใต้หมวด ๓
ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทยของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็มิได้เปลี่ยนไปจากหลักการเดิม
๑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๔
๒ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๘
๓ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๐๐