Page 138 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 138

ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม

                            นายสุรพงษ์  กองจันทึก ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ

                     แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ  เสนอข้อคิดเห็นว่า  “การที่พระราชบัญญัติ
                     คนเข้าเมืองสันนิษฐานว่า คนไม่มีหลักฐานมีความผิดเป็นการขัดกับหลักกฎหมายอาญาทั่วไป

                     และรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ นอกจากนี้ในรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ มาตรา ๔๐ ยังได้กล่าวถึงสิทธิใน
                     กระบวนการยุติธรรมที่ทุกคนต้องได้รับแต่ในเรื่องคนเข้าเมืองกลับไม่ได้รับ เราจะพบว่าคนเข้าเมือง

                     ผิดกฎหมายไม่ได้รับสิทธิทั้ง ๕ ประการ ต่อไปนี้
                            (๑)  สิทธิในการได้รับการประกันตัว

                            (๒)  สิทธิในการมีทนายความเพื่อแก้ต่าง
                            (๓)  เจ้าพนักงานต้องตรวจสอบข้อมูลเอกสารอย่างเพียงพอและโดยไม่มีข้อแม้

                            (๔)  มีการแจ้งข้อกล่าวหาและสิทธิให้แก่ผู้ต้องหา
                            (๕)  สิทธิในการที่จะมีล่าม

                            นอกจากนี้ มาตรา ๕๔ เป็นอีกมาตราหนึ่งที่สำาคัญซึ่งเป็นเรื่องการดูแลคนที่ได้รับการ
                     ลงโทษตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองแล้ว เพียงแต่รอการส่งกลับ  มาตรา ๕๔ ตามพระราช

                     บัญญัติคนเข้าเมือง ระบุว่า “คนต่างชาติผู้ใดเข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต
                     หรือการอนุญาตนั้นสิ้นสุดหรือถูกเพิกถอนแล้ว  พนักงานเจ้าหน้าที่จะส่งตัวคนต่างด้าวนั้นกลับ

                     ออกนอกราชอาณาจักรก็ได้”  มาตรานี้มีขึ้นเป็นการยกเว้นหลักทั่วไปที่ผู้กระทำาผิดจะได้รับการส่ง
                     กลับก็ต่อเมื่อมีคำาพิพากษาของศาลเท่านั้น  ทั้งนี้ กลุ่มที่เจ้าหน้าที่จะสามารถส่งกลับเองได้ต้องเป็น

                     กลุ่มแรงงานต่างด้าว หรือคนต่างด้าวสามสัญชาติ คือ พม่า กัมพูชา ลาว และต้องเป็นกรณีที่เจ้าตัว
                     รับสารภาพเท่านั้น  แต่ในข้อเท็จจริงพบว่า ไม่มีการถามความสมัครใจหรือการรับสารภาพ แต่ได้มี

                     การส่งคนกลับเป็นจำานวนมาก
                            นอกจากนี้ ในมาตรา ๕๔ วรรค ๓ กรณีที่มีคำาสั่งให้ส่งตัวคนต่างด้าวกลับออกไป แต่อยู่

                     ระหว่างรอการส่งกลับ  พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำานาจอนุญาตให้พักในที่ใดก็ได้โดยมีประกันหรือ
                     หลักประกัน หรือทั้งประกันและหลักประกันก็ได้  แต่ปรากฏว่าข้อนี้ เจ้าหน้าที่ยังไม่ให้มีการประกัน

                     เพื่อให้คนเหล่านี้ออกไปอยู่ในสถานที่อื่นๆ นอกจากสถานที่ต้องกักได้ จึงมีข้อเสนอในการจัดการ
                     เรื่องเหล่านี้ต่อรัฐบาลไทย ดังนี้

                            ๑.  รัฐต้องดูแลและให้สถานะผู้ลี้ภัย

                               รัฐต้องรับรองออกเอกสารยืนยันการเป็นคนให้คนเหล่านี้ทุกคน ซึ่งปัจจุบันคนเหล่านี้
                     ยังไม่ได้รับเอกสารรับรองจากรัฐในการเป็นบุคคลตามกฎหมาย ทั้งที่มีหลักกฎหมายระหว่างประเทศ

                     และกฎหมายภายในประเทศรับรองเรื่องนี้ไว้ชัดเจน ดังนี้
                               (๑)  ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๖ “ทุกๆ คนมีสิทธิจะได้รับการยอมรับ

                                   ว่าเป็นบุคคลในกฎหมายไม่ว่า ณ ที่ใด”




        


        ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143