Page 133 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 133

ความคิดเห็นเพิ่มเติมต่อการแก้ไข พ.ร.บ. คนเข้าเมือง


                            นอกจากความคิดเห็นของคณะทำางานในที่ประชุมทั้ง ๖ ครั้งดังกล่าวแล้ว  พ.ต.ท.ดร.พงษ์นคร
                     นครสันติภาพ  คณะทำางานซึ่งมาจากกองบังคับการตรวจคนเข้าเมืองได้จัดทำาเอกสารส่งให้คณะทำางาน

                     พิจารณา ดังนี้


                            ๑.  หลักการ

                            เห็นด้วยในหลักการที่มีการเสนอขอแก้ไข  เนื่องจากกฎหมายฉบับปัจจุบันได้มีการใช้บังคับมาเป็น
                     ระยะเวลานานแล้ว ในขณะที่ในรอบ ๒๐ ปีที่ผ่านมา สภาพสังคมไทย และ สภาพแวดล้อมทั้งในกรอบความ

                     ร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบที่
                     เกิดจากกระแสโลกาภิวัตน์ ที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์การเคลื่อนย้ายคนและทุนโดยเสรี


                              ข้อเสนอ  :  กฎหมายฉบับดังกล่าวนั้นยังมีประเด็นอื่นๆ  นอกเหนือจากการไม่มีบทบัญญัติ

                        ในเรื่องผู้ลี้ภัยอีก ที่มีปัญหาในทางปฏิบัติ หรือมีปัญหาในเรื่องสิทธิมนุษยชนเรื่องอื่นๆ อาทิ กรณี
                        คดีของนายชาลี ที่อยู่ระหว่างการฎีกาข้อกฎหมาย หรือกรณีการไม่นิยามคำาว่า “ผู้ต้องกัก” ไว้

                        ทำาให้เกิดปัญหาการตีความ  หากมีการรวบรวมประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องรวมเสนอเพื่อพิจารณาใน
                                                    ้
                        คราวเดียวกัน จะทำาให้ข้อเสนอมีนำาหนักมากยิ่งขึ้น และทำาให้เกิดสมดุลระหว่างการรักษาสิทธิ
                        ของคนไทย และการรักษาสิทธิของคนต่างด้าว


                            ๒.  เหตุผล

                            การนำาเสนอเหตุผลประกอบร่างกฎหมาย  นอกจากเหตุผลโดยสรุปตามแบบการเสนอร่างกฎหมาย
                     แล้ว ควรเพิ่มผลการศึกษาในด้านต่างๆ อาทิ การตอบคำาถามให้ได้ว่า

                            (๑)    ปัญหาของการใช้กฎหมายคืออะไรบ้าง และ
                            (๒)    ปัญหานั้นส่งผลกระทบถึงใคร

                            (๓)    มีทางออกของปัญหากี่ทาง แต่ละทางนั้นมีการวิเคราะห์ข้อดี และ ข้อเสีย อย่างไร และ
                            (๔)    ทำาไมจึงเลือกหนทางที่เสนอ และ

                            (๕)    หากแก้กฎหมายตามร่างที่เสนอ ใครจะได้ประโยชน์ ใครจะเสียประโยชน์


                            ๓.  คำานิยาม
                            เห็นด้วยกับการกำาหนดคำานิยามของ “ผู้ลี้ภัย” “ผู้ขอสถานภาพผู้ลี้ภัย” เพื่อประโยชน์ในการ

                     บริหารจัดการคนกลุ่มนี้ตามหลักสิทธิมนุษยชน


                              ข้อเสนอ:  อย่างไรก็ตามยังมีคำานิยามอื่นๆ อีกที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมาย  ซึ่งมีความ

                        เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน  และหากไม่บัญญัติไว้จะทำาให้ไม่มีกรอบการดาเนินงานของเจ้าหน้าที่
                        ทำาให้เสี่ยงต่อการใช้ดุลยพินิจตามอำาเภอใจของเจ้าหน้าที่  กล่าวคือ เจ้าหน้าที่จะใช้อำานาจทาง



                                                                                                          


                                      ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138