Page 135 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 135
ย่อมกระทำาได้ และกฎหมายในมาตรานี้ก็ไม่ได้บัญญัติให้ผู้ลี้ภัยเป็นคนต้องห้ามเดินทางเข้ามาใน
ราชอาณาจักร ดังนั้น จึงไม่มีความจำาเป็นต้องไปกำาหนดเพิ่มเติมว่า ผู้ลี้ภัย หรือผู้ขอสถานภาพผู้ลี้ภัย
ไม่เป็นคนต้องห้าม เพราะจะเป็นการขัดหลักการดังกล่าวข้างต้น และในปัจจุบันย่อมได้รับการคุ้มครอง
โดยกฎหมายอื่นอยู่แล้ว
๔.๓ การแก้ไขบทบัญญัติตามมาตรา ๑๓
มาตรา ๑๓ เป็นการกำาหนดหลักการเกี่ยวกับคนเดินทางผ่าน (TRANSIT) ที่ได้รับการยกเว้น
ไม่ต้องมีหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง โดยมีเงื่อนไข ได้แก่
้
(๑) ผู้ควบคุมพาหนะและคนประจำาพาหนะทางนำาและทางอากาศที่เพียงแวะเข้ามาและ
กลับออกไปในเขต ท่า สถานี หรือท้องที่ในราชอาณาจักร เช่น นักบินที่ขับเครื่องบิน
มาลงสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อส่งคนโดยสารโดยจอดพักประมาณ ๓ ชั่วโมง แล้ว
เดินทางต่อไป หรือกัปตันเรือเดินสมุทรที่มาเทียบท่าเรือแหลมฉบัง ๑๐ ชั่วโมง แล้ว
เดินทางกลับออกไป
(๒) คนสัญชาติของประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อ เดินทางข้ามพรมแดนไปมาชั่วคราว เช่น
การเปิดจุดผ่อนปรนชายแดนไทย-ลาว เพื่อค้าขายทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ น.
เป็นต้น ผู้ควบคุมพาหนะ คนประจำาพาหนะ และคนโดยสารรถไฟผ่านแดนซึ่ง
ถือตั๋วโดยสารทอดเดียวตลอด เพียงแต่ผ่านอาณาเขตประเทศไทยออกไปนอก
ราชอาณาจักร เช่น หากในอนาคตมีรถไฟสายมาเลเซีย - ไทย - ลาว คนโดยสารที่
ซื้อตั๋วกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย - สถานีท่านาแล้ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน
ลาว ซึ่งขบวนรถไฟจะวิ่งในเขตไทยตั้งแต่สถานีปาดังเบซาถึงสถานีหนองคาย ก็จะได้
รับการคุ้มครองตามกฎหมายในมาตรานี้
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่า บทบัญญัติตามความในมาตรานี้ เป็นการวางหลักในเรื่อง
การเดินทางผ่านแดน (ไม่มีวัตถุประสงค์ในเรื่องการพำานัก หรืออยู่ในราชอาณาจักร) และการไปมาชั่วคราว
(เข้ามาทากิจธุระแล้วออกไป) หากเพิ่มเติมผู้ลี้ภัย และผู้ขอสถานภาพผู้ลี้ภัยไว้ในมาตรานี้ จะขัดต่อ
หลักการตามบทบัญญัติของกฎหมาย เพราะผู้ลี้ภัยและผู้ขอสถานภาพผู้ลี้ภัยนั้น โดยสภาพทั่วไปแล้วเงื่อนไข
ระยะเวลาในการเข้ามานั้น เป็นการอยู่พำานักเพื่อรอการเดินทางไปประเทศที่สาม ซึ่งไม่ใช่เดินทางผ่านมา
แล้วกลับออกไปตามเจตนารมณ์ของมาตรานี้
๔.๔ ค่าใช้จ่ายในการดำาเนินงาน
ตามกฎหมายฉบับปัจจุบัน มุ่งอำานวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว นักลงทุน ที่นำาเงินตรา
เข้าประเทศ ทำาให้เกิดการพัฒนาและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และมุ่งสกัดกั้นคนไม่ดีไม่ให้เข้าประเทศ
หรือเข้ามาก่อภาระให้ประเทศ ทั้งในแง่ความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจ ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติ
ในเรื่องการตรวจเงินตราที่กำาหนดให้คนต่างด้าวต้องมีเงินติดตัวจำานวนที่เหมาะสม การห้ามแย่งอาชีพ
คนไทย ฯลฯ ซึ่งนานาประเทศก็มีการบัญญัติในเรื่องดังกล่าวไว้
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒