Page 141 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 141
ข้อเสนอแนะจากผู้แทนจากสภาความมั่นคงแห่งชาติ
ร่างพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองในประเด็นของฝ่ายความมั่นคง ขอตั้งข้อสังเกตว่าพระราช
บัญญัติคนเข้าเมืองคงไม่ได้ถูกออกแบบขึ้นมาสำาหรับใช้กับผู้ลี้ภัยตั้งแต่แรกอยู่แล้ว มันเป็นเรื่อง
ของหลักการชัดเจนอยู่ในเรื่องของการป้องกันไม่ให้มีการเข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็น
เรื่องของการกระทำาความผิด ในประเด็นการนำามาปรับใช้กับผู้ลี้ภัยเป็นประเด็นความเห็นที่มองว่า
ควรจะปรับพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองให้มีความเหมาะสม เพียงแต่ที่ให้ข้อสังเกต ก็คือ เรื่องการ
แก้ไขพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองโดยการนำาหลักการเรื่องผู้ลี้ภัยเข้ามา ก็คงต้องพิจารณาดูก่อนว่า
เป็นหลักการที่ไปด้วยกันได้หรือไม่ เพราะหลักการของผู้ลี้ภัยคงไม่ใช่หลักการที่ว่าต้องดำาเนินการ
ฐานเข้าเมืองผิดกฎหมาย แต่เป็นเรื่องหลักสิทธิมนุษยชนและสิทธิมนุษยธรรมที่ต้องดูแลผู้ได้รับ
ผลกระทบจากความไม่เป็นธรรม จากการเผชิญอันตรายในชีวิต
ประเด็นต่อมา คือ การนำาหลักการกฎหมายระหว่างประเทศมาใช้กับประเทศไทยก็เป็น
สิ่งที่ถูกต้อง เราต้องนำาหลักการมาเพิ่มตอนยกร่างเป็นกฎหมาย หรือปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อ
บังคับใช้ ซึ่งในประเด็นดังกล่าวก็คงเป็นหลักการที่ได้กล่าวไว้แล้ว แต่ในเรื่องผู้ลี้ภัยเราจะดูใน
รายละเอียดกฎหมายว่าจะไปใช้กฎหมายอื่นซึ่งเป็นลักษณะโดยตรง เราก็ต้องคุยในรายละเอียดกัน
ต่อไป
ผู้แทนจากสำานักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ
ในลำาดับแรก UNHCR สนับสนุนในการที่รัฐบาลไทยจะพิจารณาสถานภาพผู้ลี้ภัยมา
ตั้งแต่แรก แต่ถ้ารัฐบาลไทยยังไม่เป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย UNHCR ก็สามารถ
ทำาได้ อีกอย่างหนึ่งที่ทางเราได้ยินมาจากผู้ลี้ภัยหลายๆ คน คือ เขาต้องการเข้ามาในประเทศไทย
เพื่อต้องการเดินทางไปตั้งรกรากในประเทศที่สาม แต่แท้จริงแล้วนี่เป็นเพียงหนึ่งในสามวิธี
แก้ปัญหาผู้ลี้ภัย เพราะวิธีแก้ปัญหาผู้ลี้ภัยมีสามวิธี ทั้งการอยู่ในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมาย
การตั้งรกรากในประเทศที่สาม และการเดินทางกลับประเทศต้นทางโดยสมัครใจ อยากจะขอตั้ง
ข้อสังเกตว่า การตั้งรกรากในประเทศที่สาม คือ เราต้องดูประเทศที่สามด้วยว่าเขาจะรับไหม ที่มี
น้อยมาก แล้วก็เราต้องดูด้วยว่าทางประเทศไทยยินยอมจะเป็นประเทศทางผ่านไหม
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒