Page 134 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 134

ปกครองออกบทบัญญัติ หรือระเบียบปฏิบัติได้ตามดุลยพินิจของตน แต่ถ้าหากมีกรอบตามกฎหมาย
                     พ.ร.บ. กำากับไว้ชั้นหนึ่งแล้ว จะควบคุมการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่  ทำาให้ลดความเสี่ยงต่อการ

                     ละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ เช่น

                            (๑)  “ผู้ต้องกัก”
                            (๒)  “ผู้หนีภัยจากการสู้รบ”
                            (๓)  “สถานกักตัวคนต่างด้าวเพื่อรอการส่งกลับ”

                            (๔)  “สิทธิของผู้ต้องกัก” เป็นต้น




                         ๔.  สาระของกฎหมายตามร่างที่เสนอ

                             ๔.๑  คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง

                             ตามร่างที่เสนอ ยังคงให้ความสำาคัญกับคณะกรรมการชุดนี้  เพียงแต่เพิ่มอำานาจหน้าที่
                  ในการพิจารณาเรื่องผู้ลี้ภัย และผู้ขอสถานภาพผู้ลี้ภัยเข้ามา ซึ่งน่าจะเป็นไปได้ แต่ผู้เสนอจะต้องศึกษา

                  เพิ่มเติมว่า เดิมการบริหารจัดการผู้ลี้ภัยเป็นหน้าที่ของใคร อาศัยอำานาจตามกฎหมายใด หากนำาอำานาจ
                                                   ้
                  หน้าที่ดังกล่าวมาให้กรรมการชุดนี้ จะซำาซ้อนกันและต้องยกเลิกบทบัญญัติในกฎหมายอื่นใดหรือไม่
                  เพราะในปัจจุบันเรื่องดังกล่าวไม่ได้อาศัยอำานาจตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองเป็นหลักปฏิบัติ
                             ในส่วนโครงสร้าง ได้เพิ่มคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนหรือผู้แทนเข้าไปเป็นกรรมการด้วย

                  ในข้อเสนอดังกล่าวต้องระมัดระวัง เพราะเจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญนั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
                  เป็นองค์กรอิสระ และไม่อยู่ในอาณัติของฝ่ายบริหาร  หากกรรมการสิทธิมนุษยชนหรือผู้แทนไปนั่งทำา

                  หน้าที่ในคณะกรรมการชุดนี้  ซึ่งมีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน จะขัดต่อเจตนารมณ์ของ
                  รัฐธรรมนูญและอำานาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญหรือไม่

                             ๔.๒  การแก้ไขบทบัญญัติตามมาตรา ๑๒

                             มาตรา ๑๒ เป็นข้อกำาหนดพื้นฐานในเรื่องคนต้องห้ามเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร
                  การจะถอดชนวนโดยอาศัยอำานาจตามมาตรานี้ ให้ผู้ลี้ภัยหรือผู้ขอสถานภาพผู้ลี้ภัยไม่เป็นคนต้องห้ามนั้น

                  ไม่จำาเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมมาตรานี้ เพราะเป็นคนละส่วนกัน  เรื่องผู้ลี้ภัยเป็นปัญหาพิเศษ ซึ่งตาม
                  เจตนารมณ์ของกฎหมายคนเข้าเมืองไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการบริหารจัดการเรื่องนี้อยู่แล้ว  หากแต่

                  เป็นการวางหลักกฎหมายกว้างๆ  เพื่อควบคุมคนเข้าเมืองโดยการกำาหนดวิธีการในเรื่องการเข้าเมืองปกติไว้
                  ตามหลักสากลทั่วไป เช่น ช่องทางการเข้าออก อำานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงาน เอกสารการเดินทาง

                  วิธีการตรวจเอกสารการเดินทางและพาหนะ ค่าธรรมเนียม เป็นต้น  แต่ทว่าการบริหารจัดการผู้ลี้ภัยนั้น
                  เป็นกรณีเฉพาะ  ไม่ใช่กรณีคนเข้าเมืองที่มีการเดินทางไปมาหาสู่กันทุกวัน  ซึ่งหากไปศึกษาเทียบเคียง

                  กฎหมายอื่นๆ แล้ว ก็มีผลในการคุ้มครองอยู่แล้ว เช่น กฎหมายว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ที่มี
                  บทบัญญัติห้ามไม่ให้ส่งนักโทษการเมือง หรือผู้มีความขัดแย้งในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา กลับไป

                             อีกประการหนึ่ง ตามหลักประชาธิปไตยนั้น การที่กฎหมายไม่ได้บัญญัติข้อห้ามไว้วิญญูชน



        


        ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139