Page 142 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 142
ความคิดเห็นของคณะทำางานต่อข้อเสนอแนะต่างๆ
คณะทำางานได้ประมวลความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญ และผู้แทนหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง และนำามาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหลักการทางสากลหรือกฎหมายระหว่างประเทศ ได้ข้อสรุป
แต่ละประเด็น ดังนี้
๑. มาตรา ๑๓ ของร่างแก้ไขพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง คงต้องให้คำาจำากัดความของ “ผู้ลี้ภัย”
ให้กว้างขึ้น เพราะหากจะมองว่าบุคคลเหล่านี้ต้องเดินทางเข้ามาในประเทศไทย เกรงว่าจะมีการตีความว่า
ผู้ลี้ภัยที่อยู่ในประเทศไทยอยู่แล้วจะไม่ได้อยู่ในความหมายนี้
ความเห็นของคณะทำางาน
คำานิยามของ “ผู้ลี้ภัย” ที่คณะทำางานเสนอให้เพิ่มเติมในมาตรา ๔ พระราชบัญญัติ
คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นคำานิยามจากอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑ ประกอบ
กับพิธีสารเกี่ยวกับสถานภาพผู้ลี้ภัย ซึ่งได้บัญญัติไว้ว่า “ผู้ลี้ภัย หมายความว่า บุคคลที่อยู่นอก
อาณาเขตรัฐแห่งสัญชาติหรือรัฐที่มีภูมิลำาเนาของตน และด้วยความหวาดกลัวซึ่งมีมูลอันจะ
กล่าวอ้างได้ว่า จะได้รับการประหัตประหารด้วยสาเหตุทางเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ สมาชิกภาพ
ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่ว่าทางสังคมหรือทางความคิดเห็นทางการเมือง และในขณะเดียวกันบุคคล
นั้นก็ไม่สามารถหรือไม่สมัครใจที่จะรับความคุ้มครองจากรัฐแห่งสัญชาติ เนื่องจากความหวาดกลัว
ดังกล่าว หรือนอกจากนี้ เป็นบุคคลไร้สัญชาติซึ่งอยู่นอกอาณาเขตรัฐ ที่เดิมมีถิ่นฐานพำานักประจำา
แต่ไม่สามารถหรือไม่สมัครใจที่จะกลับไปเพื่อพำานักในรัฐดังกล่าว ด้วยเหตุแห่งความหวาดกลัว
ข้างต้น” ซึ่งเมื่อพิจารณาจากถ้อยคำาของบทบัญญัติจะเห็นว่า ได้ครอบคลุมถึงผู้ลี้ภัยที่อยู่ใน
ประเทศไทยแล้ว
๒. เรื่องคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองก็ต้องปรับตำาแหน่งให้ถูกต้องตามปัจจุบันนี้ เนื่องจาก
ปัจจุบันนี้ไม่มีอธิบดีกรมตำารวจ อธิบดีกรมอัยการ และคณะกรรมการควรอยู่ในระดับเดียวกัน ไม่ควรเอา
ระดับปลัดกระทรวงมาประชุมร่วมกับระดับอธิบดี
ความเห็นของคณะทำางาน
ข้อเสนอนี้เป็นเรื่องถ้อยคำาในพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยโดยตรง
และมิได้อยู่ในอำานาจหน้าที่ของคณะทำางานแก้ไขพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
๓. มาตรา ๓๔ ข้อ ๒/๑ การขอลี้ภัยเพื่อตั้งรกรากในประเทศที่สาม ควรเขียนให้ครอบคลุมผู้ลี้ภัย
ที่รอเดินทางกลับประเทศต้นทางด้วย
ความเห็นของคณะทำางาน
การเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง เพื่อกำาหนดให้ “การขอลี้ภัย” เป็นเหตุในการ
ขอเข้าเมืองชั่วคราว ตามมาตรา ๓๔ ควรระบุเพียงว่า
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒