Page 136 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 136
นอกจากนี้ เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายอื่น เช่น กฎหมายว่าด้วยการทำางานของคน
ต่างด้าวนั้น จะพบว่า มีการเรียกเก็บเงินเพื่อเข้ากองทุนเพื่อการส่งกลับ หรือมีกองทุนบริหารจัดการแรงงาน
ต่างด้าว เพื่อลดภาระด้านภาษีของคนไทย
ดังนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน ไม่ก่อให้เกิดปัญหาใหม่ คือ
ความรู้สึกแตกแยกระหว่างคนไทยผู้เป็นเจ้าของภาษีกับผู้ลี้ภัยที่มักจะถูกมองว่ามาเบียดบังภาษี และเป็น
ภาระของสังคมไทย ในขณะที่ประเทศของเราก็มีปัญหาเศรษฐกิจมากพออยู่แล้ว ในทางกลับกันเมื่อ
ศึกษากรณีประเทศที่มีฐานะเศรษฐกิจดีกว่าเราบางประเทศ ยังมีการกีดกันไม่ให้ผู้ลี้ภัยเข้าเมืองโดยไปกักไว้
บนเกาะที่ห่างไกลจากแผ่นดินใหญ่ประมาณ ๒,๐๐๐ ไมล์ ก็มีปรากฏให้เห็น จึงควรเสนอแนวทางในการ
บริหารจัดการเรื่องนี้ไว้ด้วย
การประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อการแก้ไขพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.๒๕๒๒
คณะทำางานได้จัดการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อการแก้ไขพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง
พ.ศ. ๒๕๒๒ เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ ณ ห้องประชุม ๗๐๙ สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ โดยนายวีรวิชญ์ เธียรชัยนันท์ ผู้แทนคณะทำางานเสนอร่างเสนอแก้ไขพระราชบัญญัติ
คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ต่อที่ประชุม มีเนื้อหาดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง (ฉบับที่…) พ.ศ. …”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำาหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจา
นุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้เพิ่มเติมบทนิยามคำาว่า “ผู้ลี้ภัย” ระหว่างบทนิยามคำาว่า “คนต่างด้าว” และ
“พาหนะ” ใน มาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังต่อไปนี้
“มาตรา ๔ …ผู้ลี้ภัย หมายความว่า บุคคลที่อยู่นอกอาณาเขตรัฐแห่งสัญชาติหรือรัฐที่มีภูมิลำาเนา
ของตน และด้วยความหวาดกลัว ซึ่งมีมูลอันจะกล่าวอ้างได้ว่าจะได้รับการประหัตประหารด้วยสาเหตุ
ทางเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ สมาชิกภาพในกลุ่มสังคมเฉพาะหรือความคิดเห็นทางการเมือง และใน
ขณะเดียวกันบุคคลนั้น ก็ไม่สามารถหรือไม่สมัครใจที่จะรับความคุ้มครองจากรัฐแห่งสัญชาติ เนื่องจาก
ความหวาดกลัวดังกล่าว หรือนอกจากนี้เป็นบุคคลไร้สัญชาติซึ่งอยู่นอกอาณาเขตรัฐ ที่เดิมมีถิ่นฐานพำานัก
ประจำาแต่ไม่สามารถหรือไม่สมัครใจที่จะกลับไปเพื่อพำานักในรัฐดังกล่าว ด้วยเหตุแห่งความหวาดกลัว
ข้างต้น
ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึง ผู้อยู่ในความอุปการะของบุคคลดังกล่าวข้างต้น”
มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อ
ไปนี้แทน
“มาตรา ๖ ให้มีคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองคณะหนึ่งประกอบด้วย ปลัดกระทรวง
มหาดไทย เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ อธิบดีกรมตำารวจ อธิบดีกรมแรงงาน
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒