Page 115 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 115

๒.  ข้อเสนอแนะที่ประเทศไทยได้รับจากการนำาเสนอรายงานประเทศต่อที่ประชุมคณะทำางาน
                     UPR ในการนำาเสนอรายงานประเทศไทยต่อที่ประชุมคณะทำางาน UPR  ผู้แทนประเทศต่างๆ ได้ให้ข้อ

                     เสนอแนะแก่ประเทศไทยหลายข้อ  สำาหรับเรื่องผู้ลี้ภัย ผู้แทนจากหลายประเทศได้เสนอให้ประเทศไทย

                     เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. ๑๙๕๑  ซึ่งหากประเทศไทยต้องการเข้าเป็นภาคี
                     อนุสัญญาฉบับดังกล่าว ก็ต้องพิจารณาก่อนว่า ประเทศไทยมีความพร้อมเชิงกฎหมายและนโยบายหรือไม่
                     การแก้ไขพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ ย่อมเป็นการเตรียมความพร้อมเชิงกฎหมายที่สำาคัญ

                     ประการหนึ่ง

                            นอกจากนั้น หากประเทศไทยมีกฎหมายระบุอย่างชัดเจนว่า ผู้ลี้ภัยสามารถอยู่ในประเทศไทยได้
                     หรือไม่ ถ้าอยู่ได้จะมีสถานะอย่างไร ทำาให้เจ้าหน้าที่ที่ทำางานเกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยสามารถทำางานได้สะดวกขึ้น

                            นายแพทย์นิรันดร์  พิทักษ์วัชระ ได้เสนอว่า  คณะทำางานควรเชิญผู้แทนสภาความมั่นคง

                     แห่งชาติ (สมช.) มาให้ความคิดเห็น เข้ามามีส่วนร่วมด้านนโยบาย  ทั้งนี้ ต้องแจ้งสภาความมั่นคงแห่งชาติ
                     ว่าไม่ใช่เป็นการเรียกเข้ามาเพื่อตรวจสอบ โดยขอให้เลขานุการอธิบายและทำาความเข้าใจกับสภาความมั่นคง

                     แห่งชาติในประเด็นนี้

                            พ.ต.ท.พงษ์นคร  นครสันติภาพ เสนอกระบวนการทำางานของคณะทำางาน และที่ประชุมตกลง
                     ให้ใช้แนวทางของการยกร่างกฎหมายตามที่เสนอซึ่งมี ๓ ขั้นตอน คือ

                                (๑) ขั้นพิจารณาหลักการ
                                (๒) ขั้นพิจารณาเหตุผล

                                (๓) ขั้นพิจารณาสาระสำาคัญ

                            ขั้นการพิจารณาหลักการและการพิจารณาเหตุผล ในขั้นตอนนี้เป็นการเสนอแก้ไข โดยระบุ
                     ว่าต้องการแก้ส่วนใด โดยให้เหตุผลประกอบ  ระบุทั้งเหตุผลทางกฎหมาย และเหตุผลทางข้อเท็จจริง

                     เหตุผลทางกฎหมาย อาทิเช่น หลักกฎหมายระหว่างประเทศในเรื่องผู้ลี้ภัยนี้มีว่าอย่างไรบ้าง  เหตุผลทาง
                     ข้อเท็จจริง เช่น ประเทศอื่นในอาเซียนมีกฎหมายเรื่องนี้ว่าอย่างไร ก้าวหน้าไปเพียงใด  ประชาคมโลกได้ให้

                     ความเห็นและข้อเสนอแนะต่อประเทศไทยอย่างไรบ้าง
                            ที่ประชุมเห็นว่า ทั้งขั้นตอนการพิจารณาหลักการ และขั้นการพิจารณาเหตุผล สามารถดำาเนินการ

                     คู่ขนานกันไปได้
                            ขั้นการพิจารณาสาระสำาคัญในเรื่องผู้ลี้ภัยนี้ ตามความเห็นของ พ.ต.ท.ดร.พงษ์นคร  นครสันติภาพ

                     ให้ความเห็นว่า  ในส่วนของสาระสำาคัญมีอยู่ ๓ ประเด็น คือ มาตรการการคัดแยก มาตรการการดูแล
                     และมาตรการในการส่งกลับ

                            มาตรการการคัดแยก
                                หากจะแก้ไขในส่วนมาตรการการคัดแยกนี้  ควรแก้ไขพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.

                            ๒๕๒๒  สองส่วน คือ ส่วนคำานิยาม และ มาตรา ๑๒  หรืออาจใช้วิธีการแยกเป็นหมวดใหม่ เรื่อง
                            ผู้ลี้ภัย โดยเฉพาะ ซึ่งถ้าจะทำาเช่นนั้น ก็ควรมีการตั้งกองทุนเพื่อการบริหารจัดการผู้ลี้ภัย คล้ายกับ

                            กรณีการจัดการแรงงาน

                                                                                                          


                                      ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120