Page 114 - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงครามและข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
P. 114

การดำาเนินงานของคณะทำางาน



                                          การประชุมคณะทำางาน ครั้งที่ ๑/๒๕๕๕

                         คณะทำางานได้จัดการปะชุมครั้งแรกเมื่อวันศุกร์ ที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๕  ณ ห้อง ๗๐๘ สำานักงาน

                  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ประธานคณะทำางานแจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงวัตถุประสงค์ของ

                  การจัดตั้งคณะทำางานจัดทำาข้อเสนอแนะแก้ไขพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ เนื่องจาก
                  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย
                  หลายกรณี  ซึ่งเมื่อพิจารณาข้อร้องเรียนเหล่านั้นแล้วเห็นว่า สาเหตุของการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าว

                  มีที่มาจากข้อจำากัดของกฎหมายที่ใช้บังคับ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าว
                         ้
                  เกิดขึ้นซำาอีก  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงเห็นว่าควรมีการแก้ไขพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง
                  พ.ศ. ๒๕๒๒ จึงได้แต่งตั้งคณะทำางานเพื่อจัดทำาข้อเสนอแนะแก้ไขพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
                         ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำาข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไข พระราชบัญญัติ

                  คนเข้าเมือง ใน ๒ ประเด็น คือ

                         ๑.  งานวิจัยกรณีผู้ลี้ภัยสงครามชาวพม่า  การจัดทำาข้อเสนอแนะในการแก้ไขพระราชบัญญัติ
                  คนเข้าเมืองนี้ สามารถเชื่อมโยงกับงานวิจัยกรณีผู้หนีภัยสงครามชาวพม่าของดร.จตุรงค์  บุณยรัตนสุนทร
                  ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวมีที่มาจากการร้องเรียนของหมอซินเทีย ว่า ได้มีผู้หนีภัยการสู้รบจากฝั่งพม่าซึ่งส่วนใหญ่

                  เป็นสตรี เด็ก เยาวชน และผู้สูงอายุทะลักเข้ามาทางชายแดนของประเทศไทย และถูกผลักดันกลับใน

                  ขณะที่การสู้รบในฝั่งพม่ายังไม่สงบ ทำาให้ผู้หนีภัยสู้รบอยู่ในภาวะอันตราย  คณะอนุกรรมการสิทธิพลเมือง
                  และสิทธิทางการเมือจึงเห็นว่า ควรทำาวิจัยเพื่อศึกษาว่า ประเทศไทยควรดูแลผู้หนีภัยการสู้รบอย่างไร
                  เพื่อคุ้มครองสิทธิของพวกเขาตามหลักสิทธิมนุษยชน

                         งานวิจัยนี้ ได้มีการศึกษากฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับผู้หนีภัย และได้มีการลงสำารวจ

                  พื้นที่จริง เพื่อรวบรวมความเห็นของฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับผู้หนีภัย





























        


        ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิของผู้อพยพหนีภัยสงคราม  และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. คนเข้าเมือง  พ.ศ. ๒๕๒๒
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119