Page 97 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 97

บทที่ 4

                    การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและกระบวนการพิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์ในต่างประเทศ



                         จากการรวบรวมแนวทางการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและกระบวนการพิจารณาเรื่องราว

                  ร้องทุกข์ในต่างประเทศ โดย อุดมศักดิ์  สินธิพงษ์ (2553 : 59 - 63) อธิบายไว้ว่า จากการที่นานา

                  ประเทศได้พยายามเรียกร้องต่อสู้เพื่อให้มีการรับรองและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ได้น าไปสู่
                  การร่างกฎบัตรสหประชาชาติที่มีบทบัญญัติอ้างถึงและเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนอยู่

                  หลายมาตราด้วยกัน สหประชาชาติได้อาศัยบทบัญญัติดังกล่าวเป็นเครื่องมือที่ส าคัญในการ

                  ส่งเสริม สนับสนุนให้รัฐสมาชิกได้ตระหนักถึงความส าคัญและเห็นถึงความจ าเป็นในการคุ้มครอง

                  สิทธิเสรีภาพของประชาชน และให้ความเคารพต่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งถือเป็นสิทธิของประชาคม

                                                                                                  ั
                  โลกอย่างแท้จริง ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาตินั้นต้องประสบกับปญหา
                  ข้อขัดข้องต่างๆ อยู่เสมอมา มีข้อโต้แย้งในแง่กฎหมายว่า พันธะทางกฎหมายของกฎบัตร

                  สหประชาชาติที่มีต่อรัฐสมาชิกนั้นมีผลผูกพันเพียงใด และการที่สหประชาชาติใช้มาตรการต่างๆ

                  ต่อรัฐสมาชิกจะถือเป็นการแทรกแซงอธิปไตยของรัฐนั้นหรือไม่ เป็นต้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ถือได้ว่า

                  เป็นความพยายามของรัฐสมาชิกที่จะจ ากัดอ านาจของสหประชาชาติได้ส่วนหนึ่ง
                         ทั้งนี้ในงานวิจัยนี้ จะศึกษาองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนของต่างประเทศ 5 องค์กร ต่อไปนี้

                         1. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

                         2. คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสภายุโรป

                         3. ประเทศอินเดีย

                         4. ประเทศอินโดนีเซีย

                         5. ประเทศนิวซีแลนด์



                  4.1 คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

                         4.1.1 สถานการณ์ปัญหาสิทธิมนุษยชนที่ส าคัญของประเทศ/ภูมิภาค

                         ความรุนแรงของสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนโลกในขณะนี้ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ไม่

                  ว่าจะเป็นความกล้าหาญที่ผู้ประท้วงแสดง เกิดขึ้นในระดับเดียวกับความล้มเหลวของผู้น า ซึ่งท า
                  ให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติดูเหมือนจะอ่อนแรงไปบ้างในบางกรณี ผู้น าทั่วโลก

                  ต่างแสดงความล้มเหลวในช่วงปีที่ผ่านมา ในขณะที่นักการเมืองตอบโต้การประท้วงด้วยการ

                  ทารุณหรือเพิกเฉย ในสถานการณ์เช่นนี้รัฐบาลต้องแสดงภาวะผู้น าที่ชอบธรรมและปฏิเสธความ





                                                          - 53 -
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102