Page 95 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 95

รัฐธรรมนูญมาตรา 334 บัญญัติให้มีการจัดท ากฎหมายเกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิ

                  มนุษยชนแห่งชาติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 199 และมาตรา 200 ให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับแต่

                  รัฐธรรมนูญใช้บังคับ (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยใช้บังคับเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540)

                  คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ส านักงานอัยการสูงสุดพิจารณาร่างกฎหมายเกี่ยวกับคณะกรรมการ
                  สิทธิมนุษยชนแห่งชาติตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ และคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเสนอร่าง

                  พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ต่อสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 11 มีนาคม

                  2542 ซึ่งขณะนั้น ได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 3 ฉบับ คือร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยสภา

                                                                           ั
                  ผู้แทนราษฎรพรรคความหวังใหม่ พรรคชาติไทย พรรคประชาธิปตย์ และพรรคชาติพัฒนา
                         ร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ทั้งสามฉบับสภาผู้แทนราษฎร

                  ได้พิจารณารับหลักการเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2542 และตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นพิจารณา

                  รายละเอียด จากนั้น สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาเรียงล าดับมาตรา และลงมติในวาระที่สาม

                  เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งวุฒิสภาได้พิจารณา

                  เห็นชอบด้วยกับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว และได้ตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้น
                  พิจารณาเมื่อพิจารณาเสร็จแล้วจึงเสนอวุฒิสภาพิจารณา ซึ่งวุฒิสภาได้ลงมติในวาระที่สามให้

                  แก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวในวันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม 2542 และส่งกลับมาให้สภา

                  ผู้แทนราษฎรพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเกี่ยวด้วยการเงินซึ่งสภา

                  ผู้แทนราษฎรยกขึ้นมาพิจารณาได้ทันที สภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณาเห็นชอบด้วยกับการแก้ไข

                  เพิ่มเติมของวุฒิสภาจึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับความ

                  เห็นชอบจากรัฐสภา และประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2542 มีผลใช้

                  บังคับตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2542 เป็นต้นมา


                         3.3.3 แนวคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนภายใต้รัฐธรรมนูญแห่ง

                  ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

                         อุดมศักดิ์  สินธิพงษ์ (2553 :  164-165) สรุปไว้ว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

                  พุทธศักราช 2550  ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.

                  2550 รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกับรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 จ านวนทั้งสิ้น 309

                  มาตรา โดยบทบัญญัติให้การรับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้มากขึ้นกว่ารัฐธรรมนูญใน

                  อดีต มีการเปลี่ยนแปลงในเนื้อหาสาระที่ดีขึ้นในหลายๆ ด้าน เช่น มีหลักการที่มีส่วนร่วมทางการ

                  เมืองโดยตรงของภาคประชาชน มีการถ่วงดุลอ านาจระหว่างองค์กร มีบทตรวจสอบการใช้อ านาจ

                  รัฐ มีหลักจริยธรรมของผู้ด ารงต าแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตลอดจนมีการจัดตั้ง


                                                          - 51 -
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100