Page 102 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 102
คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีสถานะเท่าเทียมกับคณะมนตรีความมั่นคง และคณะมนตรี
เศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาก่อนหน้านี้
บทบาทหน้าที่ส าคัญของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนมีวัตถุประสงค์หลัก 10 ประการ ได้แก่
1. ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนศึกษา การเรียนรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและให้บริการค าปรึกษา
ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและเสริมสร้างศักยภาพโดยการหารือและได้รับความ
เห็นชอบจากประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่เกี่ยวข้อง
2. เป็นเวทีเพื่อการหารือในประเด็นเฉพาะด้านสิทธิมนุษยชน
3. ให้ข้อเสนอแนะต่อสมัชชาสหประชาชาติเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของการจัดท า
มาตรฐานหรือกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
4. ส่งเสริมการอนุวัติพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐและติดตามการอนุวัติพันธกรณี
การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เป็นผลจากการประชุมสหประชาชาติและ
การประชุมสุดยอดต่าง ๆ
5. จัดท าการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนและการอนุวัติพันธกรณีด้านสิทธิ
มนุษยชนของรัฐภายใต้กลไก Universal Periodic Review (UPR) บนพื้นฐานข้อมูล
ที่เป็นกลางและน่าเชื่อถือ
้
6. ปองกันไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนและตอบสนองสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่
ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที
7. ทดแทนบทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับ
ภารกิจของส านักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Office of the
United Nations High Commissioner for Human Rights – OHCHR)
8. ด าเนินภารกิจด้านสิทธิมนุษยชนโดยร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับรัฐบาล องค์กรระดับ
ภูมิภาคสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และภาคประชาสังคม
9. ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ด าเนินภารกิจด้าน
่
สิทธิมนุษยชนโดยร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับทุกฝายที่เกี่ยวข้อง และ
10. น าเสนอรายงานประจ าปีต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ
- 58 -