Page 99 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 99
- เริ่มมีการประท้วงด้านสังคมมากขึ้นในทวีปอเมริกา ประชาชนต้องเผชิญหน้ากับ
มหาอ านาจทางเศรษฐกิจและการเมือง มีการข่มขู่และสังหารนักเคลื่อนไหว อย่างเช่นที่บราซิล
โคลัมเบียและเม็กซิโก
- ในรัสเซีย การเคลื่อนไหวของมวลชนมีเพิ่มขึ้น และมีการเดินขบวนประท้วงครั้งใหญ่
่
สุดนับแต่การล่ม สลายของสหภาพโซเวียต แต่เสียงของฝายตรงข้ามถูกละเมิดและมีการปฏิเสธ
โอกาสของพวกเขาอย่างเป็นระบบ
- ไม่มีสัญญาณการเปลี่ยนแปลงที่ส าคัญในประเทศต่างๆ อย่างเช่น เติร์กเมนิสถานและ
อุเบกิสถาน ประเทศเจ้าภาพการประกวด Eurovision Song Contest อย่างอาเซอร์ไบจานยังคง
ปราบปรามเสรีภาพในการแสดงออก และควบคุมตัวนักโทษด้านมโนธรรมส านึก 16 คนไว้
เนื่องจากส่งเสียงต่อต้านรัฐบาลในปี 2554
- ภายหลังการลงคะแนนเสียงแยกประเทศซูดานใต้เป็นเอกราช ความรุนแรงได้ปะทุ
มากขึ้น แต่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ รวมทั้งสภาสหภาพแอฟริกาเพื่อสันติภาพ
และความมั่นคง (African Union’s Peace and Security Council) ก็ยังคงล้มเหลวไม่มีการส่ง
้
เสียงประณามการละเมิดสิทธิ รวมทั้งการที่กองทัพซูดานทิ้งระเบิดโจมตีโดยไม่เลือกเปาหมาย
และกรณีที่รัฐบาลซูดาน สั่งห้ามไม่ให้หน่วยงานด้านมนุษยธรรมเข้าไปให้ความช่วยเหลือในรัฐที่
ได้รับผลกระทบ
- ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ในขณะที่ประชาชนทั่วโลกรับทราบถึงการ
ั
เคลื่อนไหวประท้วง แต่ปญหาที่ลึกซึ้งระดับรากเหง้ากลับเลวร้ายลง รัฐบาลอิหร่านยังคงถูกโดด
ั
เดี่ยว ไม่ยอมรับฟงเสียงวิจารณ์ และยังคงใช้โทษประหารอย่างจงใจ โดยมีสถิติเป็นรองเพียง
ประเทศจีน ส่วนซาอุดิอาระเบียยังคงปราบปรามผู้ประท้วง อิสราเอลยังคงปิดกั้นการเข้าฉนวนกา
ซา ท าให้วิกฤตด้านมนุษยธรรมยืดเยื้อขึ้น และอิสราเอลยังคงส่งเสริมให้มีการเข้าไปอยู่อาศัย
อย่างผิดกฎหมายในเขตเวสต์แบงค์ องค์กรการเมืองของชาวปาเลสไตน์อย่างฟาตาห์ (Fatah)
่
้
และฮามาส (Hamas) ยังคงพุ่งเปาโจมตีผู้สนับสนุนของแต่ละฝาย ส่วนกองก าลังของอิสราเอลกับ
กลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ยังคงปะทะกันอย่างต่อเนื่องในเขตฉนวนกาซา
- รัฐบาลพม่าตัดสินใจครั้งส าคัญให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองกว่า 300 คน และอนุญาต
ให้นางอองซานซูจีลงสมัครรับเลือกตั้งได้ อย่างไรก็ตาม การละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเป็นผล
เนื่องมาจากการต่อสู้ขัดแย้งที่เพิ่มขึ้นในเขตชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อย รวมทั้งการคุกคามและควบคุม
ตัวนักเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ชี้ให้เห็นข้อจ ากัดของการปฏิรูปดังกล่าว
- 55 -