Page 92 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 92

การเป็นภาคีพันธกรณีระหว่างประเทศเหล่านี้ มีผลให้ประเทศไทยมีข้อผูกพันที่จะต้อง

                  รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนแต่ละด้านต่อสหประชาชาติ และต้องมีการปรับปรุงรัฐธรรมนูญ

                  กฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ และการปฏิบัติของหน่วยงานรัฐให้สอดคล้องกับพันธกรณีต่างๆ

                  รวมถึงการจัดตั้งกลไกอิสระระดับชาติ เพื่อท าหน้าที่ตรวจสอบ คุ้มครอง และส่งเสริมสิทธิ
                  มนุษยชนให้ปรากฏผลที่เป็นจริง

                            โดยข้อเท็จจริงแล้วมีความพยายามของภาครัฐโดยคณะรัฐมนตรีได้มอบให้ส านักงาน

                  อัยการสูงสุดเป็นหน่วยงานกลาง เตรียมการจัดท าร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

                  ขึ้น แต่จนถึงปี พ.ศ 2539  ร่างฯดังกล่าวยังไม่เสร็จสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม พื้นฐานของร่างฯ

                  พ.ร.บ. ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ฉบับนี้ ยังไม่ถือว่าเป็นองค์กรอิสระ แต่เป็นเพียงกลไก

                  หนึ่งของการบริหารราชการแผ่นดินเท่านั้น



                         องค์กรสิทธิมนุษยชนในรัฐธรรมนูญ

                            ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534  เป็นฉบับแก้ไข พ.ศ. 2538
                  ได้มีการก าหนดให้มีองค์กร “ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา”  ไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ยังไม่เป็น

                  องค์กรอิสระ และไม่มีอ านาจหน้าที่ในการเป็นกลไกตรวจสอบและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ซึ่งแม้จะ

                  บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแล้วก็ยังไม่มีการจัดตั้งแต่ประการใด

                            เมื่อมีกระแสเรียกร้องจากประชาชนให้มีการปฏิรูปการเมือง รัฐสภาได้มีมติให้จัดตั้งสภา

                  ร่างรัฐธรรมนูญโดยคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจากทั่วประเทศ 99         คน และเน้น

                                                                                       ั
                  กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม ท าให้เกิดการรับฟงความคิดเห็นและ
                  ประชาพิจารณ์ทั่วประเทศอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้รัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพของ

                  ประชาชน ทั้งบุคคล ชุมชน และการกระจายอ านาจสู่ท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง รวมทั้งการบัญญัติ

                  ให้มีกลไกอิสระหลายองค์กรเพื่อตรวจสอบการใช้อ านาจรัฐ และส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                  อย่างจริงจัง ตลอดจนการมีส่วนร่วมของประธานในโครงการต่างๆ

                            ในส่วนของการจัดตั้งองค์กรอิสระต่างๆ นั้น แต่เดิมยังไม่ปรากฏ "คณะกรรมการสิทธิ

                  มนุษยชนแห่งชาติ" ในร่างฉบับแรกสุดของคณะท างานที่สภาร่างรัฐธรรมนูญมอบหมาย โดย

                  ก าหนดให้มีแต่ "ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา" และมีการก าหนดหน้าที่ประการหนึ่งไว้ว่า

                  "พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามค าร้องเรียนในกรณีการกระท าหรือละเลยการกระท า อัน

                  ไม่เป็นไปตามพันธกรณี หรือข้อก าหนดที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน กล่าวคือให้ท าหน้าที่เป็นกลไก

                  ด้านสิทธิมนุษยชนควบคู่ไปด้วย แต่บทบาทหน้าที่ยังมีข้อจ ากัดมาก





                                                          - 48 -
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97