Page 100 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 100

-   การละเมิดต่อชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกายังด าเนินต่อไป เนื่องจากความต้องการใช้

                  ทรัพยากรเพิ่มมากขึ้น ส่วนที่แอฟริกาการเลือกปฏิบัติเนื่องจากอัตลักษณ์ทางเพศหรืออัตลักษณ์
                                                                                         ์
                  ทางเพศสภาพยังคงเลวร้ายลงไปอีก ส่วนนักการเมืองยุโรปก็ยังคงแสดงวาทศิลปต่อต้านคนชาติ

                  อื่นมากขึ้น และมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อการก่อการร้ายในแอฟริกาซึ่งน าโดยกลุ่มติดอาวุธอิสลาม
                         -   ความก้าวหน้าต่างๆ ทั้งการพัฒนาไปสู่การยุติโทษประหารชีวิตระดับโลก การลดลง

                  ของการลอยนวลพ้นผิดส าหรับการละเมิดสิทธิที่ผ่านมาในทวีปอเมริกา ก้าวย่างส าคัญของความ

                  ยุติธรรมในยุโรปเมื่อมีการจับกุมตัวพลเอกรัตโก มลาดิก (Ratko  Mladic)  และนายโกรัน ฮัดซิค

                  (Goran  Hadzic)  ชาวเซิร์บเชื้อสายโครเอเชียเพื่อมาขึ้นศาลส าหรับอาชญากรรมที่ก่อขึ้นระหว่าง

                  สงครามช่วงทศวรรษ 1990 ในอดีตยูโกสลาเวีย



                         4.1.2 ที่มา/เหตุผลในการจัดตั้งองค์กร

                         จากการค้นคว้างานวิจัยของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

                  (ม.ป.ป. :  7  –  11)  พบว่า คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (The  United  Nations

                  Human  Rights  Council,  ย่อ: UNHRC)  จัดตั้งขึ้นตามข้อมติสมัชชาแห่งสหประชาชาติ เป็น

                  องค์กรระหว่างรัฐบาลในระบบสหประชาชาติ เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นมาทดแทนหน่วยงานเดิม คือ
                  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United  Nations  Commission  on  Human

                  Rights  ,  UNCHR)   เป็นคณะกรรมการในอดีตของสหประชาชาติ ระหว่าง พ.ศ. 2489 - 2549

                  โดยมีวัตถุประสงค์หลักการสอดส่องดูแลการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นทั่วโลก หยุดยั้งการ

                  ละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น สร้างบรรทัดฐานของการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และให้

                  ข้อเสนอแนะรวมทั้งส่งเสริมขีดความสามารถส าหรับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนใน

                  ประเทศต่างๆ

                         คณะมนตรีฯ เป็นองค์กรของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีฯ ท างานใกล้ชิด
                  กับส านักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนซึ่งส านักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนนี้เป็นองค์กรที่

                  ให้การสนับสนุนองค์กรต่างในด้านที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน  โดยสมัชชาใหญ่ก่อตั้งคณะมนตรีฯ

                  โดยรับข้อมติ (A/RES/60/251) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2549 เพื่อทดแทนคณะกรรมการสิทธิ

                  มนุษยชนเดิม ซึ่งตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ.2489 ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในระยะหลังว่า ได้

                  น าเอาสิทธิมนุษยชนมาเป็นประเด็นทางการเมือง มีการเลือกปฏิบัติและปล่อยให้ประเทศซึ่งมีการ

                  ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างก้าวขวางให้เข้ามามีบทบาทส าคัญใน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน






                                                          - 56 -
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105