Page 93 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 93

ในช่วงการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้มีการเสนอให้แยกเป็น

                  สององค์กรอิสระ คือผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                  เนื่องจากภาระหน้าที่แต่ละด้านกว้างขวางมาก จะไม่สามารถครอบคลุมภาระหน้าที่ด้านส่งเสริม

                  และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนได้มีประสิทธิภาพเพียงพอ จึงเป็นที่มาของหมวดรัฐสภา ส่วนที่ 7
                  ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา (มาตรา 196  -  มาตรา198)  และส่วนที่ 8  คณะกรรมการสิทธิ

                  มนุษยชนแห่งชาติ (มาตรา 199  และมาตรา 200)  ซึ่งจากการที่สภาร่างรัฐธรรมนูญจัดท า

                  แบบสอบถามทั่วประเทศ ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนมากกว่าร้อยละ 80              ระบุให้มี

                  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และในที่สุดก็มีการก าหนดให้เป็นหนึ่งในองค์กรอิสระตาม

                  รัฐธรรมนูญมาตรา 75  และมีบทเฉพาะกาลมาตรา 334  ให้จัดตั้งองค์กร "คณะกรรมการสิทธิ

                  มนุษยชนแห่งชาติ" ภายในสองปี เช่นเดียวกับ "ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา"



                         บทบาทหน้าที่ "คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ" ที่มีประเด็นต่างจาก "ผู้ตรวจการ

                  แผ่นดินของรัฐสภา" อาจจ าแนกโดยย่อดังนี้
                            1.  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสามารถตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้ง

                  การละเมิดจาก เอกชน และจากเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ นอกจากนี้สามารถหยิบยกกรณีมีการละเมิด

                  สิทธิมนุษยชนขึ้นมาพิจารณาตรวจสอบได้เองแม้จะไม่มีผู้ร้องเรียน และยังสามารถรับเรื่อง

                  ร้องเรียนที่ไม่ระบุผู้ร้องได้ ในขณะที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาไม่อาจที่จะริเริ่มการตรวจสอบ

                  ได้เอง และได้จ ากัดเฉพาะกรณีร้องเรียนต่อหน่วยงานรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้น

                            2.  ในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                  ไม่จ ากัดอยู่ที่ความชอบตามกฎหมายแต่เพียงอย่างเดียว เพราะต้องมีการพิจารณาด้วยว่า
                  กฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ นั้นขัดกับหลักสิทธิเสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตาม

                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และหลักสิทธิมนุษยชนตามพันธกรณี หรือ

                  สนธิสัญญาหรืออนุสัญญาระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีหรือไม่ นอกจากนี้บางกรณีแม้

                  อาจจะมีการกระท าหรือละเลยการกระท าที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่อาจเป็นการกระท าที่ไม่เหมาะสม

                  หรือไม่เป็นธรรมในมิติของสิทธิมนุษยชนได้ด้วย ส่วนการมีบทบาทในการไกล่เกลี่ยเยียวยาได้นั้น

                  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสามารถท าหน้าที่ได้เช่นเดียวกับ "ผู้ตรวจการแผ่นดินของ

                  รัฐสภา" ซึ่งมีบทบาทด้านนี้ได้อย่างเต็มที่
                                                                                                 ้
                            3.  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีหน้าที่ท างานเชิงรุก เพื่อส่งเสริมและปองกัน

                  การละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยมีการศึกษา วิจัย และมีข้อเสนอแนะในเชิงกฎหมาย และนโยบาย
                  ต่อรัฐบาลและรัฐสภา รวมทั้งการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้



                                                          - 49 -
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98