Page 101 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 101
4.1.3 องค์ประกอบและที่มาของคณะกรรมการ
ในรายงานประจ าปีของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และหน่วยงานที่
ศึกษาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน (2013) ระบุถึงคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ว่า
ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 47 ประเทศแบ่งตามสัดส่วนของแต่ละภูมิภาคดังนี้ ภูมิภาค ได้แก่
แอฟริกา 13 ประเทศ ภูมิภาคเอเชีย 13 ประเทศ ภูมิภาคยุโรปตะวันออก 6 ประเทศ ภูมิภาค
ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 8 ประเทศ และภูมิภาคยุโรปตะวันตกและอื่นๆ 7 ประเทศ มี
ส านักงานใหญ่สหประชาชาติ อยู่ที่ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
รูปแบบโครงสร้างระดับสูง ส านักบริหารผ่านการเลือกโดยคณะมนตรีฯ ประกอบด้วย
ประธาน 1 ต าแหน่ง และรองประธาน 4 ต าแหน่ง (ไม่มีระบบกรรมการ หรืออนุกรรมการ)
มีความเป็นอิสระในการท างาน เป็นองค์กรของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ท างาน
ใกล้ชิดกับส านักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน
สถานะของบุคลากร เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลในระบบสหประชาชาติ
หลักเกณฑ์การเป็นสมาชิก การเลือกตั้งสมาชิก HRC จะกระท าโดยวิธีการลงคะแนนเสียง
แบบลับโดยประเทศสมาชิกสหประชาชาติ 192 ประเทศ ทั้งนี้ ประเทศที่จะเข้าเป็นสมาชิกได้
จะต้องได้รับคะแนนเสียงอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจ านวนประเทศสมาชิกสหประชาชาติโดยมีวาระใน
การด ารงต าแหน่งคราวละ 3 ปี รัฐแห่งนั้นจะต้องได้รับเสียงสนับสนุนส่วนใหญ่ (97 เสียง) จาก
ประเทศสมาชิก 192 แห่งของสมัชชาใหญ่ รัฐภาคีอาจเสนอตัวเพื่อรับเลือกตั้งซ ้าอีกติดต่อกันได้
ั
เพียงครั้งเดียว ทักษะความสามารถของบุคลากรในปจจุบัน บุคลากรต้องผ่านการคัดเลือกเข้ามา
และต้องมีทักษะหลายด้าน
4.1.4 อ านาจหน้าที่/ขอบเขตความรับผิดชอบ
คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติหรือเรียกในภาษาอังกฤษว่า United Nations
Human Rights Council มีชื่อเรียกย่อๆ ว่า HRC เป็นกลไกระหว่างรัฐ จัดตั้งขึ้นตามข้อมติสมัชชา
แห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2006 โดยมีหน้าที่ส าคัญในการสอดส่องดูแลการละเมิด
สิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นทั่วโลก หยุดยั้งการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น สร้างบรรทัดฐานของ
การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และให้ข้อเสนอแนะรวมทั้งส่งเสริมขีดความสามารถ
ส าหรับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศต่างๆ
- 57 -