Page 94 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 94
ร่วมกันของสังคมในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมสิทธิมนุษยชน โดยมีหน้าที่ประสานความร่วมมือกับ
เครือข่ายจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ สถาบันวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน และประชาชน
ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ก็เน้นการท างานประสานงานกับเครือข่ายเช่นกัน แต่ผู้ตรวจการ
แผ่นดินของรัฐสภามีหน้าที่ชัดเจนโดยตรงในการเสนอกฎหมาย กฎระเบียบ และการกระท าต่างๆ
ให้ศาลรัฐธรรมนูญ หรือให้ศาลปกครองวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
4. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีหน้าที่จัดท ารายงานประเมินสถานการณ์สิทธิ
มนุษยชนประจ าปีเสนอต่อคณะรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและสาธารณชน และเสนอแนะต่อรัฐบาลใน
การปฏิบัติตาม พันธกรณีระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี รวมทั้งการพิจารณาเสนอการเข้าเป็น
ภาคีเพิ่มเติมในข้อตกลงระหว่างประเทศที่ได้ประกาศใช้แล้วในนานาประเทศ
3.3.2 แนวคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนภายใต้รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
เมื่อพิจารณาการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 ในงานของนิคม แสนนรินทร์ (2546 : 23-24 ) ซึ่งได้กล่าวว่า ภายหลังการ
ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 นอกจากบทบัญญัติหรือ
มาตราการต่างๆ ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้เพื่อให้สิทธิเสรีภาพได้รับการคุ้มครองและยึดถือปฏิบัติ
อย่างจริงจังแล้ว แผนแม่บทด้านสิทธิมนุษยชนก็ได้จัดท าขึ้น โดยในปี พ.ศ.2541 ซึ่งเป็นปี
ครบรอบ 50 ปี ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ นายกรัฐมนตรี (นาย
ชวน หลีกภัย) จึงได้มีค าสั่งส านักนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการจัดท า
นโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชนคณะหนึ่งจ านวน 43 คน โดยมีนายอานันท์
ั
ปนยารชุน เป็นประธาน มีหน้าที่ในการจัดท านโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิ
ั
มนุษยชน ตลอดจนแก้ไขปญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย โดยให้น าเสนอนโยบาย
และแผนดังกล่าวพร้อมงบประมาณต่อคณะรัฐมนตรีภายใน 1 ปี คณะกรรมการฯ แห่งชาติได้จัด
ประชุมขึ้นจ านวน 9 ครั้ง และได้เสนอนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2543 ร่างนโยบายและ
แผนปฏิบัติการแม่บทด้านสิทธิมนุษยชนฉบับนี้นับว่าเป็นฉบับแรกของประเทศไทย ซึ่งมี
วัตถุประสงค์ที่จะเสนอให้รัฐบาลน าไปใช้เป็นกรอบและแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ
มนุษยชน มีระยะเวลา 5 ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2544-2548 และคณะกรรมการฯ ได้เสนอให้รัฐบาล
พัฒนาปรับปรุงนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บทฯ ทุกๆ สามปี โดยค านึงถึงข้อคิดเห็นของ
ประเด็นของประชาชนเป็นส าคัญ
- 50 -