Page 91 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 91

พิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระท าความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็น

                  ผู้กระท าความผิดมิได้ ฯลฯ (มาตรา 30)

                         รัฐธรรมนูญที่ถือกันว่าดีที่สุดและเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดในอดีตก็คือ “รัฐธรรมนูญแห่ง

                  ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517” ซึ่งร่างขึ้นภายหลังเหตุการณ์นองเลือดเมื่อวันที่ 14
                  ตุลาคม 2516  รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้วางหลักการใหม่ ๆ ในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของ

                  ประชาชนทั้งในด้าน “สิทธิเสรีภาพในทางลบ” เพื่อจ ากัด “อ านาจ” ของรัฐมิได้กระท าการก้าวล่วง

                  เข้าไปในสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามอ าเภอใจ และ “สิทธิเสรีภาพในทางบวก” ซึ่งบัญญัติให้

                  เป็น “หน้าที่” ของรัฐในการให้บริการแก่ประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น ตัวอย่างเช่น ได้

                  บัญญัติรับรองในเรื่องการช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนผู้ยากไร้ การจัดตั้งศาลปกครองเพื่อ

                  วินิจฉัยข้อพิพาทในทางปกครอง การรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่เพื่อคุ้มครองผู้บริสุทธิ์ที่ถูกศาล

                  พิพากษาลงโทษ เนื่องจากพยานหลักฐานที่น าแสดงต่อศาลเป็นพยานเท็จ การรับรองความเสมอ

                  ภาคกันตามกฎหมายระหว่างชายและหญิงในเรื่องต่างๆ


                         พื้นฐานการพัฒนาประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน

                         จากรายงานประจ าปีของส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (2545 : 4 - 6) ระบุไว้ว่า

                  ประเทศไทยมีกระบวนการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย และการสร้างจิตส านึกของประชาชนใน

                  การร่วมกันรับผิดชอบต่อการสร้างสรรค์สังคม ผ่านเหตุการณ์ส าคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

                  หลายช่วง โดยเฉพาะเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 กรณี 6 ตุลาคม 2519 และเหตุการณ์พฤษภา

                  ประชาธรรม 2535  ที่มีผลให้ประชาชนตื่นตัวที่จะมีส่วนร่วมในการเมือง และการตรวจสอบการ

                  ท างานของภาครัฐ

                            นอกจากนี้ประเทศไทยเองมีวิถีชีวิตดั้งเดิม ในการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนที่สุขสงบและ

                  เคารพคุณค่าซึ่งกันและกันมายาวนาน รวมทั้งได้รับรองปฏิญญาสากลสิทธิมนุษยชนแห่ง
                  สหประชาชาติ ในวันที่ 10  ธันวาคม พ.ศ. 2491  ต่อมาก็แสดงเจตนารมณ์ในการพัฒนาการ

                  ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทั้งในประเทศไทย และในระดับสากล โดยการเข้าเป็นภาคี

                  พันธกรณีสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนอีกหลายฉบับในระยะต่อมา ที่ส าคัญ เช่น

                          1. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ พ.ศ. 2522

                          2. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก พ.ศ. 2532

                          3. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง พ.ศ. 2509

                          4. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม





                                                          - 47 -
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96