Page 90 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 90

3.3.1 แนวคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนก่อนปี พ.ศ. 2540

                         ส าหรับแนวคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนก่อนปี พ.ศ. 2540 พบว่ากุลพล พลวัน

                  (2547 : 140-150) อธิบายไว้ว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับแรกๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับ

                  สิทธิเสรีภาพของประชาชนได้รับแนวความคิดมาจากรัฐธรรมนูญของต่างประเทศอันเป็นที่ยอมรับ
                  กันทั่วไปมากจ านวนหนึ่งและระยะหลังๆ ก็ได้แนวความคิดมาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ

                  มนุษยชน หรือข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหลายเรื่อง รวมทั้งที่ได้บัญญัติขึ้น

                  เองตามที่เห็นว่าเหมาะสมกับประเทศไทย ดังมีวิวัฒนาการต่อไปนี้



                         รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของชาวไทย

                  ไว้ในหมวดที่ 2 และมีเพียง 4 มาตรา คือ มาตรา 12-14 ส่วนมาตรา 15 กล่าวถึงหน้าที่ของชาว

                  ไทย สิทธิเสรีภาพที่รับรองเป็นที่รู้จักกันตั้งแต่ดั้งเดิม ซึ่งเรียกว่า “สิทธิของพลเมืองและสิทธิของ
                  ทางการเมือง” (Civil Rights and Political Rights) เช่น บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย (มาตรา

                  12) บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาหรือลัทธิใด (มาตรา 13) เสรีภาพในร่างกาย

                  เคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด ฯลฯ ซึ่งเรียกในทางวิชาการว่า “ลัทธิเสรีภาพในทางลบ” (Negative)

                  เป็นสิทธิเสรีภาพเกี่ยวกับการจ ากัดอ านาจของรัฐส่วน “สิทธิทางเศรษฐกิจและสังคม” (Economic

                  and  Social  Rights)  ซึ่งเป็นสิทธิชนิดใหม่เรียกในทางวิชาการว่า “สิทธิและเสรีภาพในทางบวก”

                  (Positive)  อันเป็นสิทธิเสรีภาพเกี่ยวกับการก าหนดหน้าที่ของรัฐที่จะต้องส่งเสริมสนับสนุนให้

                  ประชาชนอยู่ดีกินดีมีมาตรฐานชีวิตที่สูงขึ้น รัฐธรรมนูญ 2475 มิได้กล่าวถึงโดยตรง แต่บัญญัติไว้

                  กว้างๆ เช่น เสรีภาพในการศึกษา อบรม การอาชีพ (มาตรา 13)

                         รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น
                  รัฐธรรมนูญฉบับที่สมบูรณ์กว่าฉบับก่อนๆ ได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของชาวไทยไว้อย่าง

                  ละเอียด (มาตรา 26-53) แต่ส่วนมากเป็นสิทธิของพลเมือง และสิทธิทางการเมืองเช่น ความเสมอ

                  กันในกฎหมาย (มาตรา 27) เสรีภาพในการนับถือศาสนา (มาตรา 28) และมาตรา 29,30 ได้รับ

                  สิทธิของบุคคลในคดีอาญาว่า “บุคคลจะไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่จะได้กระท าการอันกฎหมาย

                  ซึ่งใช้อยู่ในเวลาที่กระท านั้นบัญญัติเป็นความผิดและก าหนดบทลงโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่

                  บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่ก าหนดไว้ในกฎหมายซึ่งใช้อยู่ในเวลาที่กระท าความผิดมิได้” (มาตรา

                  29) และ “ในคดีอาญาให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจ าเลยไม่มีความผิด ก่อนที่จะมีค า





                                                          - 46 -
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95