Page 85 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 85
เอกสารทั้งสองส่วน คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้พิจารณาและใช้ชื่อ
เอกสารดังกล่าวรวมกันว่า “กฎหมายบัญญัติด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ” (International
Bill of Human Rights)
ใน ค.ศ. 1966 สหประชาชาติได้รับรองเอกสารในส่วนที่สอง ซึ่งแยกออกเป็น 2 ฉบับ
ได้แก่ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant
on Civil and Political Rights) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ
วัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights) มีผลใช้บังคับ
เมื่อมีรัฐต่างๆ ให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีเพื่อรับเอาพันธกรณีที่ปรากฏในเอกสารมีจ านวนครบ 35
ประเทศ เมื่อ ค.ศ. 1976
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองมีสาระส าคัญเกี่ยวกับการ
ที่รัฐภาคีจะต้องประกันให้มีกระบวนการยุติธรรมที่เหมาะสมและปกครองโดยหลักนิติธรรมต่อ
บุคคลที่อยู่ในเขตอ านาจรัฐ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ ทั้งนี้ ได้ยอมให้รัฐภาคีจ ากัดหรือลิดรอนสิทธิ
บางประการได้ในกรณีที่เกิดสภาวะฉุกเฉินที่เป็นอันตรายต่อประเทศ ยกเว้นสิทธิในการมีชีวิตอยู่
เสรีภาพจากการถูกทรมานและเป็นทาสสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่ระบุในกติกา ได้แก่
สิทธิในการก าหนดเจตจ านง สิทธิในการมีชีวิตอยู่ เสรีภาพและความมั่นคง เสรีภาพในการ
เคลื่อนย้ายถิ่นฐาน รวมทั้งเสรีภาพในการเลือกที่พักอาศัย การเดินทางออกนอกประเทศ สิทธิใน
ความคิด มโนธรรม และศาสนา สิทธิในการรวมตัวและสมาคม เสรีภาพจากการทรมาน และการ
กระท า หรือการลงโทษที่โหดร้าย และย ่ายีศักดิ์ศรี เสรีภาพจากการเป็นทาส แรงงานบังคับการ
จับกุมหรือกักขังตามอ าเภอใจ สิทธิในการได้รับการไต่สวนอย่างเป็นธรรมและโดยทันที และสิทธิ
ในความเป็นส่วนตัว
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มีสาระส าคัญ
เกี่ยวกับการที่รัฐจะต้องไม่ละเมิดสิทธิขั้นต ่าที่ระบุไว้ในกติกา และส่งเสริมสิทธิดังกล่าวอย่างค่อย
เป็นค่อยไปเท่าที่ทรัพยากรของประเทศมีอยู่ สิทธิที่กล่าวถึงในกติกา ได้แก่ สิทธิเกี่ยวกับการ
ท างานในสภาพที่ดีและเป็นธรรม การคุ้มครองด้านสังคม เช่น การมีมาตรฐานในการด ารงชีพที่
พอเพียง รวมถึง เสื้อผ้า อาหาร ที่พักอาศัย การประกันมาตรฐานด้านสุขภาพกายและจิตใจให้ได้
สูงสุดเท่าที่จะด าเนินการได้ สิทธิในการศึกษาและสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากเสรีภาพทาง
วัฒนธรรมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
หลังจากนั้น สหประชาชาติได้รับรองสนธิสัญญาหลักสิทธิมนุษยชนในด้านต่างๆ อีก 4
ฉบับ คือ
- 41 -