Page 180 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 180
หรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม อันได้แก่ สนธิสัญญาด้าน
สิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ
5.1.9 การพิจารณาด าเนินเรื่องร้องทุกข์
จากการศึกษา “มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน : ศึกษาเฉพาะ
กรณีบทบาทอ านาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ” ของ มะลิวรรณ วิสุทธิศักดิ์ (2548
: 98-100) ได้อธิบายว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนจะพิจารณาในการตรวจสอบเรื่องเป็น 3
กรณี ดังต่อไปนี้
1. เป็นเรื่องไม่อยู่ในอ านาจหน้าที่หรือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ไม่รับไว้พิจารณา ซึ่งจะต้องแจ้งผู้ร้องหรือองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนที่ส่งเรื่องทราบ
โดยไม่ชักช้า เพื่อประโยชน์ต่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจะส่งเรื่องต่อไปให้บุคคลหรือหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องด าเนินการแก้ไขตามที่เห็นสมควรก็ได้
2. เป็นเรื่องที่ควรได้รับการพิจารณาแก้ไขโดยองค์กรอื่นที่มีอ านาจหน้าที่
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสามารถส่งเรื่องให้องค์กรที่มีอ านาจหน้าที่พิจารณาได้
ไม่ว่าเรื่องดังกล่าวจะอยู่ในการด าเนินการของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขั้นตอนใด
หากปรากฏว่าองค์กรนั้นไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาหรือรับไว้แต่ยังมิได้ด าเนินการเป็น
ประการใด คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอาจรับเรื่องกลับไปพิจารณาได้หากเป็นเรื่องที่
อยู่ภายใต้อ านาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
3. เป็นเรื่องที่มีมูลและอยู่ในอ านาจหน้าที่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
จะให้แจ้งบุคคลหรือหน่วยงานที่ถูกอ้างว่าเป็นผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือบุคคลหรือหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงภายในระยะเวลาที่ก าหนด การแจ้งดังกล่าวคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องท าสรุปรายละเอียด ข้อเท็จจริงให้เพียงพอต่อการชี้แจงได้โดยถูกต้อง
ครบถ้วน และเมื่อพ้นก าหนดเวลาชี้แจงข้อเท็จจริงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
จะด าเนินการพิจารณาตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยให้โอกาสผู้ร้องหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
และผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงรายละเอียดและเสนอพยานหลักฐานตามสมควร เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง
เกี่ยวกับการกระท าที่มีการอ้างว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยในการพิจารณาตรวจสอบ
การสิทธิมนุษยชนหากคู่กรณีต้องมาปรากฏตัวต่อหน้าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คู่กรณีมีสิทธิน าทนายความหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในกระบวนการพิจารณาตรวจสอบได้
อนึ่งในการพิจารณาตรวจสอบการสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการคณะหนึ่งหรือหลายคณะเพื่อท าหน้าที่สืบสวนและสอบสวน
- 135 -