Page 182 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 182

3. ผู้ร้องเป็นผู้ท าการแทนองค์การเอกชนที่มิได้แจ้งชื่อต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

                  แห่งชาติว่าจะสามารถรับค าร้องและพิจารณาเบื้องต้นเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ ตามมาตรา 24

                         4. กรณีอื่นๆ ที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติหยิบยกขึ้นมาพิจารณา

                         ทั้งนี้ เรื่องที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นสมควรตรวจสอบถือว่าเป็นค าร้อง
                  ตามระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบ

                  การละเมิดสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2545 ข้อ 3 ซึ่งก าหนดว่า “ค าร้อง” หมายความว่าเรื่องที่มี

                  ผู้ร้องเรียน และให้หมายความถึงเรื่องที่คณะกรรมการหยิบยกขึ้นพิจารณาด้วย

                         ในกรณีที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นว่า กรณีร้องเรียนมีมูลและอยู่ใน

                  อ านาจหน้าที่ของคณะกรรมการ สมควรรับค าร้องไว้พิจารณาตรวจสอบคณะกรรมการ

                  สิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะเริ่มด าเนินกระบวนพิจารณาตรวจสอบตามมาตรา 2 5   แห่ง

                  พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยแจ้งไปยังบุคคลหรือ

                  หน่วยงานที่ถูกร้องเรียนหรือที่คณะกรรมการเห็นว่าเกี่ยวข้อง เพื่อให้บุคคลหรือหน่วยงานนั้น

                  ชี้แจงข้อเท็จจริงภายในระยะเวลาสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งจากคณะกรรมการ โดย
                  ผู้รับผิดชอบค าร้องจะรวบรวมข้อเท็จจริงเบื้องต้นต่างๆ จากค าร้องและค าชี้แจงข้อเท็จจริงของ

                  บุคคลหรือหน่วยงานที่ถูกร้องว่าเป็นผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิ

                  มนุษยชนและพยานหลักฐานต่างๆ ที่ได้จากผู้ร้อง และหลักฐานต่างๆ ประกอบค าชี้แจงข้อเท็จจริง

                  โดยท าบันทึกสรุปเบื้องต้นเสนอต่อคณะกรรมการ

                         เมื่อพ้นระยะเวลาการชี้แจงข้อเท็จจริงดังกล่าว คณะกรรมการจะพิจารณาจากบันทึกสรุป

                  เบื้องต้น และด าเนินการพิจารณาตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 26 โดยต้องให้

                  โอกาส ผู้ร้องหรือผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงรายละเอียดและเสนอพยานหลักฐานตาม
                  สมควร เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการการะท าที่มีการอ้างว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และ

                  อาจให้คู่กรณี บุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาปรากฏตัวต่อหน้าคณะกรรมการ โดยแจ้งให้

                  คู่กรณีทราบล่วงหน้า



                         อ านาจในการรับฟังข้อเท็จจริง และแสวงหาพยานหลักฐาน

                         ในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอ านาจ

                                       ั
                  กึ่งตุลาการ ในการรับฟงข้อเท็จจริงและแสวงหาพยานหลักฐาน ดังนี้
                         1. มีหนังสือสอบถามส่วนราชการหน่วยงานของรัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจ เพื่อให้มีหนังสือ

                  ชี้แจงข้อเท็จจริง หรือให้ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการหรืองานใดๆ หรือส่งวัตถุ เอกสาร

                  หรือพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือส่งผู้แทนมาชี้แจงหรือให้ถ้อยค าประกอบการพิจารณา


                                                          - 137 -
   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187