Page 179 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 179

้
                  ที่บุคคลหรือหน่วยงานที่เป็นเปาหมายของค าร้องอันอยู่ภายใต้อ านาจตรวจสอบของ
                  คณะกรรมการ จะเป็นบุคคลหรือหน่วยงานในภาครัฐหรือเอกชนนั้น อาจพิจารณาได้จากมาตรา

                  257 วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ประกอบมาตรา 32 (1)

                  และ (2) แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เนื่องจาก
                  บทบัญญัติ ดังกล่าว บัญญัติให้คณะกรรมการมีอ านาจเรียกเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง หรือ

                  เรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยค าซึ่งรวมถึงส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ บุคคลนิติ

                                                                      ้
                  บุคคล หรือหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง ด้วยเหตุนี้ เปาหมายของค าร้อง หรือบุคคลและ
                  หน่วยงานที่อยู่ภายใต้อ านาจตรวจสอบของคระกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงย่อมรวมถึง

                  บุคคลหรือหน่วยงานทั้งในภาครัฐและเอกชน

                         สาระของค าร้องหรือกรณีที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอ านาจรับไว้พิจารณา

                                                            ั
                  ตรวจสอบและเสนอมาตรการการแก้ไขปญหา พิจารณาได้จากอ านาจตรวจสอบของ
                  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติดังที่กล่าวข้างต้น รวมถึงอ านาจหน้าที่ที่เพิ่มเติมตาม

                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 257 วรรคหนึ่ง (2)(3)(4) โดยสรุป
                  เงื่อนไขอันเป็นสาระของค าร้องหรือกรณีที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอ านาจรับไว้

                  พิจารณาตรวจสอบได้ ดังนี้

                         กรณีที่มีการกระท าหรือละเลยการกระท าอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรืออันไม่

                  เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีตามอ านาจตรวจสอบของ

                  คณะกรรมการดังที่กล่าวข้างต้น
                                                                                                   ั
                         กรณีที่มีผู้ร้องเรียนว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกระทบต่อสิทธิมนุษยชน และมีปญหา

                  เกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
                         กรณีที่มีผู้ร้องเรียนว่า กฎ ค าสั่ง หรือ การกระท าอื่นใดในการปกครองกระทบต่อ

                                     ั
                  สิทธิมนุษยชนและมีปญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
                                                                                   ้
                         กรณีที่ผู้เสียหายร้องขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฟองคดีต่อศาลยุติธรรม
                                                                                               ั
                  แทนผู้เสียหาย และเป็นกรณีที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเห็นสมควรเพื่อแก้ไขปญหาการ
                  ละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นส่วนรวม

                         สาระของค าร้องหรือกรณีต่างๆ ที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีอ านาจรับไว้

                  พิจารณาตรวจสอบดังกล่าว มีขอบเขตกว้างขวางตามนิยามของค าว่า “สิทธิมนุษยชน” ตาม

                  มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่บัญญัติว่า

                  “สิทธิมนุษยชน” หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล
                  ที่ได้รับการรับรองหรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทย



                                                          - 134 -
   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184