Page 185 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 185
หลังจากคู่กรณีได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงไกล่เกลี่ยแล้ว หากปรากฏแก่คณะกรรมการใน
ภายหลังว่า มีการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามข้อตกลงในหนังสือดังกล่าวนั้น คณะกรรมการจะ
ด าเนินการพิจารณาตรวจสอบค าร้องนั้นตามอ านาจหน้าที่ต่อไป
5.1.11 การสรุปและด าเนินการแก้ปัญหาเรื่องราวร้องทุกข์
ในด้านบทบาทอ านาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มะลิวรรณ วิสุทธิ
ศักดิ์ (2548 : 100) สรุปไว้ว่า เมื่อสรุปผลการพิจารณาว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ให้
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแจ้งไปยังบุคคลหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ต้องด าเนินการตาม
ผลรายงานการตรวจสอบโดยเร็ว และให้บุคคลหรือหน่วยงานที่ได้รับแจ้งด าเนินการตามมาตรการ
ั
แก้ไขปญหาละเมิดสิทธิมนุษยชน ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ก าหนดและแจ้งผลการ
ด าเนินการให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบ แต่ถ้าการด าเนินการตามมาตรการ
ั
แก้ไขปญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่อาจกระท าให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ก าหนดให้
บุคคลหรือหน่วยงานขอขยายระยะเวลาด าเนินการไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
พร้อมทั้งเหตุผลและระยะเวลาที่ขอขยายก่อนที่ก าหนดระยะเวลาเดิมจะสิ้นสุดลง แต่ทั้งนี้ ห้ามมิ
ให้ขอขยายระยะเวลาการด าเนินการมากกว่าสองครั้ง
เมื่อพ้นก าหนดเวลาแล้วยังมิได้มีการด าเนินการหรือด าเนินการไม่แล้วเสร็จโดยไม่มี
เหตุผลอันสมควร ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อสั่งการ
ั
ให้มีการด าเนินการตามมาตรการการแก้ไขปญหาการสิทธิมนุษยชนภายในหกสิบวันนับแต่
วันที่รับรายงาน โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องก าหนดรายละเอียดการใช้อ านาจ
ตามกฎหมาย เพื่อการสั่งการของนายกรัฐมนตรีด้วย แต่หากการด าเนินการดังกล่าวไม่อยู่ใน
อ านาจของนายกรัฐมนตรีที่จะสั่งการได้ ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติรายงาน
ต่อรัฐสภา และหากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน
ั
ส่วนรวมจะเผยแพร่กรณีที่ไม่มีการด าเนินการตามมาตรการการแก้ไขปญหาการละเมิด
สิทธิมนุษยชนนั้นให้สาธารณชนทราบก็ได้
- 140 -