Page 164 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 164
5.1.3 องค์ประกอบและที่มาของคณะกรรมการ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติหนึ่ง
คน และกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอื่นอีกสิบคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตาม
ค าแนะน าของวุฒิสภา จากผู้ที่มีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของ
ประชาชนเป็นที่ประจักษ์ ทั้งนี้โดยต้องค านึกถึงการมีส่วนร่วมของทั้งหญิง-ชาย และผู้แทนจาก
องค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน การแต่งตั้งประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนอง
พระบรมราชโอการ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดแรก มีสัดส่วนที่สมดุลในหลายองค์ประกอบ
โดยเฉพาะความเสมอภาคหญิงชาย โดยมีชาย 6 คน หญิง 5 คน มีวุฒิการศึกษาตั้งแต่
ประถมศึกษาปีที่ 4 จนถึงปริญญาเอก และมีพื้นฐานประสบการณ์ที่หลากหลายทั้งภาคราชการ
นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรประชาชน รวมทั้งมีอายุระหว่าง 40 ปี จนถึง 81 ปี
ส าหรับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดแรก มีวาระการด ารงต าแหน่งหกปี
นับตั้งแต่วันที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คือวันที่ 13 กรกฎาคม 2544 และจะครบวาระการ
ด ารงต าแหน่งในวันที่ 12 กรกฎาคม 2550 แต่ในระหว่างนั้น มีกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ที่พ้นจากต าแหน่งก่อนครบวาระ 2 คน คือ คุณหญิงจันทนี สันตะบุตร ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน
2549 และนายจรัล ดิษฐาอภิชัย ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2550 ส่วนประธานกรรมการและ
กรรมการอื่นอีกแปดคนที่เหลืออยู่คงด ารงต าแหน่งจนครบวาระเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2550
และได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อมาเพื่อรอให้มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดใหม่ โดยในระหว่าง
การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว นายวสันต์ พานิช ได้ขอยุติการปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม
2551 ส่วนกรรมการที่เหลือได้ปฏิบัติหน้าที่จนถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2552 เนื่องจากมีการแต่งตั้ง
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดใหม่ ในวันที่ 25 มิถุนายน 2552
- 120 -