Page 168 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 168

ที่มาของอ านาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                  พ.ศ. 2542

                         อ านาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542  มี

                  ที่มาจากการประชาพิจารณ์ร่างกฎหมาย “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ” ซึ่งในวาระ

                  ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่ครบรอบ 50 ปี ใน พ.ศ.2541 รัฐบาล

                  โดยนายชวน หลีกภัย ได้จัดตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการจัดท านโยบายและแผนปฏิบัติ
                                                              ั
                  การแม่บทด้านสิทธิมนุษยชน โดยมีนายอานันท์ ปนยารชุน  เป็นประธานกรรมการ และกระทรวง
                  ยุติธรรมเป็นเลขานุการ ท าหน้าที่ร่างนโยบายและแผนปฏิบัติการแม่บท ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

                  เพื่อให้ภาครัฐได้ยึดถือไปด าเนินการ และมีการจัดท าประชาพิจารณ์ต่อร่างนโยบายนี้ทั่วประเทศ

                  โดยมีนายแพทย์ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี เป็นประธานกรรมการประชาพิจารณ์ ซึ่งก่อให้เกิดความ

                  ตื่นตัวในด้านสิทธิมนุษยชนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยทั่วไป ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบนโยบาย

                  และแผนปฏิบัติการแม่บทว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2543 และมอบหมายให้

                  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปด าเนินการ แต่มีความคืบหน้าน้อยมาก
                                                                                      ั
                         ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง จากบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญฉบับปจจุบัน (พ.ศ.2540)

                  ในมาตรา 334 ที่ก าหนดให้จัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติภายใน 2 ปี รัฐบาล
                  โดยนายพิชัย รัตตกุล รองนายกรัฐมนตรี ได้จัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายว่าด้วย

                  สิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2541 โดยมีอัยการสูงสุดประธาน ร่างฯ นี้

                  มีมติให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2541 และรัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการ

                  ประชาพิจารณ์ร่างกฎหมาย โดยมีนายแพทย์ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี เป็นประธานกรรมการ เมื่อ

                  วันที่ 14 พฤศจิกายน 2541 นับเป็นร่างกฎหมายฉบับแรกหลังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

                  พ.ศ.2540 ที่มีการจัดท าประชาพิจารณ์ โดยข้อเสนอจากประชาพิจารณ์ที่มีผลต่อการปรับปรุง

                  แก้ไขร่างฯ นี้ มีประเด็นที่ส าคัญคือ
                         1. การยืนยันให้เป็นองค์กรอิสระ ไม่ถูกครอบง าจากระบบการเมือง คือ ให้ประธาน

                  กรรมการสิทธิมนุษยชนรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ฯ

                         2. ก าหนดคุณสมบัติให้ผู้ที่จะด ารงต าแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฯ

                         3. การลดจ านวนกรรมการสรรหาที่มาจากข้าราชการประจ า และเพิ่มสัดส่วนกรรมการ

                  สรรหาจากสถาบันการศึกษาแทน

                         4. การก าหนดอ านาจหน้าที่เพิ่มเติมในการเรียกข้อมูล และบุคคลเพื่อการตรวจสอบการ

                  ละเมิดสิทธิมนุษยชน  ซึ่งในร่างเดิมไม่ได้ระบุไว้ รวมทั้งก าหนดบทลงโทษให้ชัดเจนถ้าไม่ปฏิบัติ

                  ตาม


                                                          - 124 -
   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173