Page 166 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 166
ในการปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ต้องค านึงถึง
ผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติและประชาชนประกอบด้วย และมีอ านาจเรียกเอกสารหรือหลักฐาน
ที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยค า รวมทั้งมีอ านาจอื่นเพื่อประโยชน์ในการ
ปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
และอ านาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 15
1. ส่งเสริมการเคารพและการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนทั้งในประเทศและ
ระหว่างประเทศ
2. ตรวจสอบและรายงานการกระท าหรือการละเลยการกระท าอันเป็นการละเมิด
สิทธิมนุษยชน หรืออันไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศ
ไทยเป็นภาคี และเสนอมาตรการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระท าหรือละเลย
การกระท าดังกล่าว เพื่อด าเนินการ ในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการด าเนินการตามที่เสนอให้รายงาน
ต่อรัฐสภาเพื่อด าเนินการต่อไป
3. เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ
ต่อรัฐสภา และคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
4. ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
5. ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยราชการ องค์การ
เอกชน และองค์การอื่นใดด้านสิทธิมนุษยชน
6. จัดท ารายงานประจ าปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
ภายในประเทศเสนอต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี และเปิดเผยต่อสาธารณชน
7. ประเมินผลและจัดท ารายงานผลการปฏิบัติงานประจ าปีต่อรัฐสภา
8. เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาในกรณีที่ประเทศไทยจะเข้าเป็น
ภาคีสนธิสัญญาเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
9. แต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
10. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่ก าหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นซึ่ง
ก าหนดให้เป็นอ านาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
- 122 -