Page 169 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 169
5. ให้ค านึงถึงสัดส่วนหญิงชายและองค์ประกอบที่หลากหลาย ในคณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนแห่งชาติ
พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้รับการเห็นชอบจากรัฐสภาเมื่อ
6 ตุลาคม 2542 โดยก าหนดให้ส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นส่วนราชการ
สังกัดรัฐสภา และมีการประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2542
อ านาจหน้าที่ของส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 18 ก าหนดให้
ส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการทั่วไปของ
คณะกรรมการ และให้มีอ านาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ
2. รับค าร้องเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการและด าเนินการ
สืบสวนหรือตรวจสอบเกี่ยวกับเรื่องที่มีการยื่นค าร้องตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
3. ศึกษาและสนับสนุนให้มีการศึกษาและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
4. ประสานงานกับหน่วยราชการ องค์การเอกชน หรือองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน
ในการด าเนินการเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
5. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
5.1.5 โครงสร้างและการบริหารองค์กร
ตามประกาศคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2544 เรื่องการ
แบ่งส่วนราชการภายในและก าหนดอ านาจหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดส านักงาน
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2544 ได้แบ่งส่วนราชการเป็น 4 ส านัก คือ ส านัก
บริหารกลาง ส านักส่งเสริมและประสานงานเครือข่าย ส านักคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และส านักวิจัย
และนิติธรรม
- 125 -