Page 163 - รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพและพัฒนาระบบงานและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา 257 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
P. 163
5. ต้องยึดหลักประสิทธิภาพในเชิงปฏิบัติการ (Operational efficiency) โดยการ
จัดหาทรัพยากรที่เพียงพอ วิธีการท างานที่ไม่เป็นแบบราชการ (bureaucracy) บุคลากร
มีความคิดความรู้และความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน ฯลฯ
6. ต้องมีความรับผิดชอบ (Accountability) ทางด้านกฎหมายและด้านการเงินต่อ
รัฐบาล และรัฐสภา โดยต้องเผยแพร่รายงานและให้สาธารณชนตรวจสอบการท างานของสถาบัน
ได้อย่างจริงจัง
การประชุมครั้งนี้ส่งผลให้มีการจัดตั้งสถาบันแห่งชาติขึ้นเป็นจ านวนมากในช่วงคริสต
ทศวรรษ 1990 และนอกจากหลักการปารีสแล้วยังมีหลักการอื่นๆ ซึ่งก าหนดให้แต่ละประเทศมี
สิทธิในการเลือกกรอบการท างานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ของตนตามความ
เหมาะสมและความจ าเป็นด้วย (ซึ่งแต่งตั้งเป็นรูปแบบคณะกรรมการ (Commission) เป็นองค์กร
ที่ท าหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชน ภายใต้กฎหมายที่มีสถานะแตกต่างกันตามแต่ละประเทศ)
ในส่วนของประเทศไทย นอกจากแนวคิดจากหลักการปารีสที่ท าให้เกิดสถาบันองค์การ
สิทธิมนุษยชนแล้ว ยังเป็นผลสืบเนื่องมาจากกรณี “พฤษภาทมิฬ” ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 17-20
พฤษภาคม 2535 ถือเป็นโศกนาฏกรรมทางการเมืองหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองไทย คือ
การชุมนุมของกลุ่มผู้เรียกร้องประชาธิปไตยซึ่งประกอบด้วยชนชั้นกลางจ านวนมาก ท าให้เกิด
ความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงทั้งชีวิตผู้คนที่ล้มตายจ านวนมากและทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย
ทั้งของราชการและเอกชน ท าให้ประชาชนตื่นตัวที่จะมีส่วนร่วมทางการเมืองและตรวจสอบการ
ท างานของภาครัฐ จนท าให้เกิดแนวความคิดเรื่องการปฏิรูปการเมือง และการจัดตั้งองค์การสิทธิ
มนุษยชน เพื่อท าหน้าที่คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนขึ้นในประเทศไทย
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย พ.ศ. 2540 เกิดขึ้นจากแรงผลักดันและความเรียกร้องต้องการของประชาชน ที่มุ่งหวังให้มี
กลไกอิสระ เพื่อท าหน้าที่ส่งเสริม คุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของประชาชนให้มีผลปรากฏ
เป็นจริง ตามที่มีการบัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพอย่างกว้างขวางไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ โดยที่
กระบวนการร่างกฎหมายเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ภายหลังประกาศใช้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พุทธศักราช 2540 นับเป็นแบบอย่างที่ดีของการร่างกฎหมาย
ที่มีผลเกี่ยวข้องกับประชาชน โดยคณะรัฐมนตรีก าหนดให้มีการประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ ในขณะ
ที่ ภาคประชาชนก็ตื่นตัวมีส่วนร่วมจัดเวทีศึกษาแลกเปลี่ยนบทเรียนของคณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนของประเทศอื่นๆ ซึ่งเป็นผลให้มีการปรับปรุงร่างกฎหมายนี้ให้ดีขึ้นจากร่างเดิมในหลาย
ประเด็น
- 119 -